ในบทความก่อนหน้านี้ (A19_WhatIs03_Linux) เราได้ทำความรู้จัก Linux กันไปแล้วว่าคืออะไร คราวนี้เราจะมารู้จัก Android ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการบน Smartphone ที่มีคนใช้เยอะที่สุดในโลก และมีรากฐานมาจาก Linux กันครับ
Android คือ open-source operating system ที่มีพื้นฐานมาจาก Linux’s kernel แต่เน้นใช้สำหรับ Smartphone หรือ tablet computer
จุดขายของ Android คือความสามารถในการทำลายขอบเขตของ Application หมายความว่าการทำงานร่วมกันระหว่าง Application ใน Android นั้นมักเป็นไปได้อย่างดี และได้รับการยอมรับว่าดีกว่าระบบปฏิบัติการอื่น นอกจากนี้เรายังสามารถพัฒนา Android ผ่านทาง Windows, Linux หรือ Mac ก็ได้ และถึงแม้ Android จะเขียนด้วย Java เป็นภาษาหลัก แต่มันไม่ได้รันโปรแกรมผ่าน JDM (Java Development Machine) โดย Google พัฒนา virtual machine ชื่อ Dalvik ขึ้นมาไว้ใช้สำหรับ Android โดยเฉพาะ โดยให้ compile โค้ด Java ใหม่ แล้วอ่านเป็น Dalvik bytecode ซึ่ง Dalvik ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยประหยัดแบตเตอรี่ที่สุดและพยายามให้โปรแกรมยังคงใช้งานได้ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด
Android สร้างโดยบริษัท Android ซึ่งก่อตั้งโดย Andy Rubin ในปี 2003 มีผู้พัฒนาหลัก ได้แก่ Andy Rubin, Rich Miner, Chris White และ Nick Sears โดยชื่อ Android มาจากชื่อเล่นของ Andy Rubin ที่เพื่อนร่วมงานตั้งให้เขาเนื่องจากเขาชอบหุ่นยนต์นั่นเอง ในตอนแรกพวกเขาตั้งใจทำ Android ไว้สำหรับใช้กับกล้องถ่ายรูป แต่เนื่องจากกล้องถ่ายรูปเริ่มหมดความนิยมพวกเขาเลยเปลี่ยนมาทาง smartphone แทน ก่อนจะถูก Google ซื้อไปในปี 2005 และได้ส่งต่อให้ Open Handset Alliance (OHA) ที่มีบริษัท 84 บริษัท เช่น Google, Samsung, AKM, Synaptics, KDDI, Garmin, Teleca, Ebay, Intel ฯลฯ เป็นหุ้นส่วนอยู่พัฒนาต่อโดยมี Google เป็นแกนนำตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา
Android ออกเวอร์ชันเชิงพาณิชย์แรกสุดในปี 2008 ซึ่งเครื่องแรกในท้องตลาดที่ลง OS นี้คือ HTC Dream และหลังจากนั้น Android ก็ได้รับการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เวอร์ชันที่เสถียรล่าสุดคือเวอร์ชัน 9.0 (Pie) ซึ่งออกในปี 2018
ตอนนี้เรามาเริ่มทำโปรเจกต์ Hello World กันครับ ในตัวอย่างนี้เพื่อความง่ายเราจะใช้ Android Studio ในการทดลองเขียนโค้ดและรันโค้ดกัน
1. ก่อนอื่นถ้าใครยังไม่มี Android Studio ก็สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ https://developer.android.com/studio แล้วเลือกดาวน์โหลดเวอร์ชันให้ตรงกับ OS ของคอมพิวเตอร์ที่เราจะติดตั้ง และดูขั้นตอนการติดตั้งของแต่ละ OS ได้จาก https://developer.android.com/studio/install
2. หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วก็เปิดโปรแกรมขึ้นมา แล้วสร้างโปรเจกต์ใหม่โดยไปที่เมนู File > New > New Project
3. ตั้งชื่อ Application และเลือกตำแหน่งที่เก็บโปรเจกต์ที่ต้องการ จากนั้นกด Next
4. เลือกเวอร์ชัน API ที่ต้องการ แล้วกด Next
5. เลือก Empty Activity แล้วกด Next
6. ตั้งชื่อ Activity Name ที่ต้องการ ในตัวอย่างนี้ใช้ชื่อเดิม แล้วกด Finish
7. รอจน Android Studio ทำการสร้างโปรเจกต์ให้เราเสร็จ จะเห็นไฟล์ activity_main.xml (หรือชื่ออื่นขึ้นกับชื่อที่ตั้งในขั้นตอนที่ 6) ไฟล์นี้จะเป็นไฟล์ที่กำหนดหน้าตา (design) ของ MainActivity ใน Application ครับ จะเห็นได้ว่าตรงกลางหน้าจอมีคำว่า “Hello World!” อยู่ เสร็จแล้วครับ Android App อันแรกของเรา ง่ายมากๆเลยใช่ไหมครับ จากนั้นให้กดปุ่มรันตรงกรอบสีแดงในภาพเพื่อลองดูของจริงเวลาลงในมือถือกันครับ
8. จะมีหน้าจอขึ้นมาให้เราเลือก Virtual Device ที่จะลง Application ที่เราเพิ่งทำ สำหรับในตัวอย่างนี้ผมมี Virtual Device ที่เคยสร้างไว้แล้ว คือ Nexus 5X อยู่จึงเลือกอันนี้ แล้วกด OK ครับ ถ้าใครยังไม่มีก็ให้สร้าง Virtual Device ก่อนโดยกดปุ่ม Create New Virtual Device ข้างล่างนะครับ
9. จากนั้นจะปรากฏหน้าจอ Android Emulator ขึ้นมา ให้รอไปเรื่อยๆจนกว่าจะลง Application เสร็จ (ช้าหรือเร็วขึ้นกับ Spec คอมของเราด้วยครับ) เมื่อเสร็จแล้ว มันจะเปิด Application ของเราให้อัตโนมัติ เป็นคำว่า Hello World! อยู่ตรงกลางหน้าจอ เย้
เช่นเดียวกับ Linux คืิอมันฟรีครับ แต่ผมคิดว่าผู้อ่านส่วนใหญ่คงไม่ได้คิดจะทำมือถือลง Android ขาย ดังนั้นผมขอพูดถึงเรื่อง Application แล้วกันนะครับ ในแง่ Developer หรือคนพัฒนา Application ถ้าต้องการทำ App ขายก็สามารถ Upload ขึ้นไปบน Play Store ได้โดยจ่ายค่าสมาชิกแค่ครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีพไม่เหมือนบางค่ายที่ต้องจ่ายเป็นรายปี
สำหรับในแง่ธุรกิจ ถ้าเป็นร้านอาหาร ก็อาจจะทำ App สำหรับรับออเดอร์ลูกค้า โดยไม่ต้องไปซื้อเครื่องรับออเดอร์เฉพาะทาง การใช้ App Android สามารถลงกับมือถือเครื่องไหนก็ได้ที่รองรับไม่ต้องกลัวว่าเครื่องพังแล้วไม่มีเครื่องสำรอง ต้นทุนก็จะถูกลงไปอีกมาก
ถ้าเป็นร้านขายของกินหรือขายของใดๆ ก็อาจจะทำ App ให้ลูกค้าโหลดไปใช้เพื่อสะสมแต้มทุกครั้งที่มาซื้อสินค้าที่ร้าน เก็บประวัติว่าลูกค้าชอบอะไร แล้วส่งโปรโมชั่นที่เหมาะสมกับลูกค้าคนนั้นๆไปยังเครื่องของลูกค้าได้โดยตรง ทำให้ตรงเป้าหมายและประหยัดงบโฆษณาไปได้มากด้วย
ถ้าเป็นโรงเรียน ก็อาจจะทำ App ให้ผู้ปกครองและนักเรียนโหลดเพื่อตรวจสอบว่านักเรียนเข้าเรียนหรือยัง หรือดูตำแหน่งของนักเรียนเพื่อความปลอดภัย หรือแจ้งข่าวสารของโรงเรียน หรือบทเรียนออนไลน์ให้นักเรียนได้ดู
ถ้าเป็นโรงพยาบาล ก็อาจจะทำ App จองเวลาพบแพทย์หรือซักประวัติเบื้องต้น ทำให้ประหยัดเวลาทั้งคนไข้ทั้งแพทย์
ถ้าเป็นโรงงาน ก็อาจจะทำ App มาจัดการเรื่องวัตถุดิบ การจัดซื้อ หรือสต็อกสินค้าต่างๆ ช่วยลดงานเอกสารไปได้มาก
และอื่นๆอีกมากมาย
การใช้งาน Android ต้องมีความรู้เรื่อง Java และ Web Programming ครับ
ถ้าผู้อ่านยังไม่มีพื้นฐานเหล่านี้หรือมีแล้วแต่อยากเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างลึกซึ้ง นำไปใช้ต่อยอดได้จริง ก็ขอแนะนำคอร์ส Java J104 ของทาง EPT โดยสามารถดูรายละเอียดคอร์สได้โดยคลิกที่นี่ และที่ดีที่สุดคุ้มที่สุดครอบคลุมที่สุดคือคอร์ส Web Programming PHP101-J ของทาง EPT ครับ สามารถดูรายละเอียดคอร์สได้โดยคลิกที่นี่หรือติดต่อได้ที่ 085-350-7540
แล้วพบกันใหม่บทความหน้านะครับ
[1] https://www.techopedia.com/definition/5415/android
[2] https://www.javatpoint.com/android-what-where-and-why
[3] https://en.wikipedia.org/wiki/Android_(operating_system)
[4] https://developer.android.com/studio/intro
Tag ที่น่าสนใจ: android linux operating_system smartphone open_source mobile_development java development_environment android_studio virtual_device hello_world application_development google play_store business
หากมีข้อผิดพลาด/ต้องการพูดคุยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ กรุณาแจ้งที่ http://m.me/Expert.Programming.Tutor
085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM
Copyright (c) 2013 expert-programming-tutor.com. All rights reserved. | 085-350-7540 | 084-88-00-255 | ntprintf@gmail.com