วัตถุประสงค์ของการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้ปกครองที่อยากให้ลูกเรียนมีแตกต่างกันไปเช่น
ซึ่งวัตถุประสงค์การเรียนที่แตกต่างกันก็จะมีวิธีการเรียนที่แตกต่างกันด้วย
ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งแทนมนุษยชาติและเด็กๆเป็นอย่างยิ่งที่มีพ่อแม่ที่มีวิสัยทัศน์อย่างกว้างไกลแบบนี้และเป็นเรื่องน่ายินดีมากที่ผู้ปกครองหันมาสนใจการศึกษานอกแบบ อย่างการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างจริงจัง ผมในฐานะทั้งครูและคนที่ทำงานด้าน Computer และ ระบบอัตโนมัติทั้งที่มีความฉลาด (AI )และ ไม่มีความฉลาดมาก่อน ขออนุญาตเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟังเรื่องการเรียนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็กครับ
สำหรับเด็กในวัยนี้เป็นวัยเด็กที่ยังอยู่ในโลกสีขาวโลกแห่งจินตนาการ ทางเรา Expert-Programming-Tutor ยังไม่มี Course สำหรับเด็กกลุ่มนี้โดยตรง แต่ผู้ปกครองสามารถให้ลูกเริ่มเรียนเขียนโปรแกรมได้จาก https://code.org (ซึ่งก็ยังไม่มี Course อะไรมากนักสำหรับเด็กในวัยนี้ )
ทักษะที่สำคัญของเด็กในวัยนี้คือ คือทักษาด้านภาษา การช่วยเหลือตัวเอง การมองภาพสามมิติ มิติสัมพันธ์ ควรฝึกจินตนาการของลูกและฝึกความคิดสร้างสรรค์ ศิลปะก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจให้เด็กๆได้แสดงออกถึงความคิดผ่านทางรูปวาดหรืองานปั้น ถ้าอยากให้ลูกเอาดีด้านComputer ควรให้ลูกเรียน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เยอะๆครับและรู้จักใช้เหตุผล การอ่านทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ (ภาษาจีน) นอกจากนี้ยังควรฝึกให้เด็กมีพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมือและแขนที่แข็งแรงเช่นการใช้มือวาดรูปตามเส้น การฝึกเขียนตัวอักษร การปั้นดินน้ำมัน การวาดรูปและการใช้สีอาจจะเป็นสีไม้หรือสีเมจิก หรือสีน้ำก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยเด็กไว้ตามลำพังกับสี เพราะสีบางชนิดอาจจะมีอันตรายได้ถ้าเด็กนำเข้าปาก
เด็กในวัยนี้ยังไม่เหมาะกับการเรียนเขียนโปรแกรมโดยตรง ควรเน้นเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมการทำตาม กฎระเบียบเด็ก 4-6 ขวบเป็นวัยที่จะเริ่มรู้สึกถึงความซับซ้อนของโลกรู้จักวางแผนง่ายๆแล้ว เด็กในวัยนี้ควรให้มีพัฒนาการทั้งทางร่างกายและสมองไปในแนวทางเดียวกันผู้ปกครองอาจจะจัดกิจกรรมกลางแจ้งที่ได้ใช้ทั้งสมองและร่างกาย การให้เด็กนั่งหน้า Computer หรือ โทรศัพท์มือถือนานๆ ถึงแม้ว่าเด็กจะสนใจมองสิ่งที่อยู่บนจอ แต่อาจจะทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านอื่นที่ไม่ค่อยดีนักและถ้าเด็กติด จอมากเกินไปโดยการดู Youtube หรือสื่อ อย่างอื่นอาจจะส่งผลเสียได้ถึงทำให้เด็กมีอาการออทิสติกเทียม ผู้ปกครองควรสังเกตพฤติกรรมของลูกว่ามีความก้าวร้าวหรือไม่ มีพฤติกรรมที่เลียนแบบสิ่งที่ดูมามากเกินไปหรือไม่ ถ้าเด็กติดจอมากเกินไปควรให้เล่นสิ่งที่เป็นของจับต้องได้เช่น ต่อตัวต่อ Lego หรือ ต่ออย่างอื่นจะทำให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรคและลงมือสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมาจริงๆ
เด็กกลุ่มนี้จะสามารถเริ่มเรียนเขียนโปรแกรมได้แล้วแต่ไม่ควรให้เป็นกิจกรรมหลัก ถ้าจะเอาดีด้านการเขียนโปรแกรมจะต้องเน้นพื้นฐานคณิตศาสตร์เยอะๆครับและพื้นฐานภาษาอังกฤษครับผม ถ้าอยากจะเสริมด้านการคิดเชิงคำนวณหรือที่เรียนกว่า Computational thinking สามารถเสริมได้โดยการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปกับการให้เด็กฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ทั้งแบบที่ต้องคำนวณและแบบแสดงวิธีทำและแบบที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ นอกเหนือจากโจทย์ที่ใช้การคำนวณโดยทั่วๆไป
Course การเรียนเขียนโปรแกรมที่เด็ก ในวัยนี้สามารถเรียนได้คือ Course Level-Up ครับ แต่ถ้าอยากจะเตรียมตัวให้เด็ก มีความพร้อมสำหรับการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ สามารถอ่านได้จากในหัวข้อสอวน.ได้เลย
นอกจากการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้วเด็กในวัยนี้สามารถเรียนต่อหุ่นยนต์ได้ทั้งหุ่นยนต์ Lego หรืออื่นๆ เด็กๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับมิติสัมพันธ์ และการทำอย่างมีลำดับแบบแผน และการแก้ปัญหาอีกด้วย
เด็กในวัยนี้เป็นวัยเริ่มออกมาจากโลกของจินตนาการณ์มาสู่โลกความจริงมากขึ้นสามารถมีสมาธิได้ยาวนานมากขึ้น สามารถสนใจในสิ่งต่างๆได้ซับซ้อนมากขึ้น เด็กในวัยนี้อาจจะจัดให้เด็กมีกิจกรรมส่งเสริมจินตนาการเช่น ลองตั้งโจทย์ถามเขาว่าถ้าหนูมีโทรศัพท์มือถือ 100 เครื่องหนูจะทำประโยชน์อะไรกับมันให้ได้ประโยชน์มากที่สุด คำตอบที่เด็กตอบบางทีอาจจะทำให้คุณประหลาดใจมากก็ได้
สำหรับเด็กที่ตั้งใจจะสอบแข่งขัน Computer โอลิมปิก กรุณาอ่านหัวข้อการเตรียมตัวสำหรับ สอบ สอวน.
ความสนใจของเด็กในวัยนี้จะเริ่มชัดเจนมากขึ้นแล้วว่าเขาชอบหรือไม่ชอบอะไรครับถ้าเขาสนใจทางด้านการเรียนเขียนโปรแกรมเราก็สามารถสนับสนุนเข้าได้ครับ
สิ่งที่นักเรียนในช่วงอายุนี้สามารถเรียนได้และ EPT มีสอนคือ Course level-up ครับถ้านักเรียนเรียนคณิตศาสตร์ไปถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 บ้างแล้วปลายแล้วสามารถเรียนได้ทุก Course ที่เรามีเลย เช่น C , C++ , C# , JAVA, VB.NET , Web programming ครับ
สิ่งที่สำคัญและควรส่งเสริมเพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้เก่งคือคณิตศาสตร์ครับผู้ปกครองควรให้เรียนคณิตศาสตร์เยอะๆเลยครับถ้าคิดจะเอาจริงเอาจังด้านนี้
เด็กวัยนี้นิยมเล่นกับเพื่อนมากขึ้นติดเพื่อนมากขึ้นและมีความคิดของครับดังนั้นผู้ปกครองพูดอะไรเด็กอาจจะไม่เชื่อ 100 % ครับซึ่งก็ต้องค่อยๆพูดไปแสดงให้เขาเห็นถึงเหตุผลครับ การดุแบบเดิมๆจะเริ่มใช้กับเด็กวัยนี้ไม่ได้ผลครับ และถ้าคิดจะเป็นผู้ปกครองสายเกรี้ยวกราด ผมต้องขออนุญาตบอกเลยนะครับว่าเด็กสมัยนี้ความจำดีครับ บางคนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ยังสามารถเล่าเหตุการณ์ในอดีตได้อย่างชัดเจนครับถ้าจะทำอะไรไม่มีเหตุผลหรือไม่ถูกต้องกับเด็กวัยนี้คิดใหม่ได้นะครับ
เด็กในวัยนี้เป็นเด็กมัธยมปลายและมหาวิทยาลัยปี 1 แล้วดังนั้นเด็กจะได้เรียนคณิตศาสตร์มาค่อนข้างเยอะแล้วครับจึงทำให้เด็กสามารถเรียนเขียนโปรแกรมได้ทุก Course เลยครับผม เด็กๆในวัยนี้จะเลือกเรียนอย่างเช่น
Python เป็นภาษาที่เหมาะกับงานด้าน Machine Learning AI ,Big Data การคำนวณที่ซับซ้อน Python เป็นภาษาที่มหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศสหรัฐอเมริกาให้นักศึกษาเรียนเป็นภาษาแรกของการเรียนเขียนโปรแกรมมากที่สุด
JAVA : เป็นภาษากลางๆสามารถนำไปต่อยอดได้หลากหลาย (ถ้าไม่รู้จะเรียนอะไรดีให้เรียน Course นี้ครับ)
C# / VB.NET : เป็นภาษาที่เหมาะแก่การเขียนโปรแกรมบน Microsoft Windows นอกจากนี้ยังนิยมนำไปเขียน Cross platform Framework ต่างๆ เช่น Unity และ Platform ทางด้าน Mobile
WEB PROGRAMMING : เรียนเขียนโปรแกรมสำหรับ Web site
C / C++ : สำหรับระบบที่ต้องการความรวดเร็วหรือการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ นอกจากนี้ C++ ยังนิยมใช้ในการเขียน เกม Computer อีกด้วยเพราะว่าสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ผู้ปกครองที่มีอายุแล้วบางท่านอาจจะเคยได้ยินมาว่าการเรียนเขียนโปรแกรมต้องเริ่มจาก การเรียนเขียนโปรแกรม ภาษา C ก่อนนะแล้วค่อยต่อ C++ แล้วก็ JAVA แต่ในการเรียนเขียนสมัยใหม่ไม่จำเป็นต้องเรียนตามลำดับแบบนั้นและ Expert-Programming-Tutor จัด Course มาสำหรับเริ่มต้นเรียนเขียนโปรแกรมได้เกือบทุกภาษา เลยครับ
ตารางสรุปการจัดการเรียนเขียนโปรแกรมสำหรับเด็ก
วัย | การเรียนเขียนโปรแกรม | การเรียนเสริมและคณิตศาสตร์ |
อายุ4-8ปี | - | ปั้นดินน้ำมัน วาดรูปต่อตัวต่อ Lego และภาษาอังกฤษ และเลข |
อายุ9-11ปี | Course Level-UP | ปั้นดินน้ำมัน วาดรูปต่อตัวต่อ Lego เรียนคณิตศาสตร์เน้นโจทย์ที่หลากหลาย ทั้งแสดงวิธีทำ โจทย์แนวคิดวิเคราะห์ และโจทย์แนวคำนวณ |
อายุ12-14ปี |
Course Level-UP /Python / JAVA / C / C++ |
คณิตศาสตร์ ม.ต้น และถ้ามีโอกาศก็เรียนของ ม. ปลายบางเรื่องได้เลย |
อายุ15-18ปี | เรียนได้ทุก Course | คณิตศาสตร์ ม. ปลายและฝึกทำแบบฝึกหัดให้ทำได้แบบเนียนๆ |
แน่นอนว่าการส่งลูกมาเรียนเขียนโปรแกรม หรือการเรียนอะไรก็ตามแต่ผู้ปกครองย่อมมีความคาดหวังในผลลัพท์ของการเรียนแต่บางครั้งต้องมีความสัมพันธ์กับระดับและความสนใจของเด็กเองด้วย ปัญหามักจะเกิดจากผู้ปกครองมีความหวัง หรือทัศนคติที่ไม่ตรงกับสภาพความเป็นจริงซึ่งผู้ปกครองจะมี 2 จำพวกใหญ่ๆคือ
1. ผู้ปกครองอยากจะอัดให้นักเรียนเรียนมากๆ
2. ผู้ปกครองกลัวแทนเด็กว่าจะเรียนมากไป อันนี้จะเป็นอีกประเภทหนึ่งคือ กลัวว่าลูกจะเครียดที่เรียนมากไป กลัวลูกกังวล กลัวลูกคิดไม่ออกแล้วกดดัน ทั้งที่เด็กสนุกกับการเรียนเขียนโปรแกรม เด็กมีความคิดอยากจะสร้างโปรแกรม (ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นเกมอะนะครับ) เด็กสามารถทำได้โดยที่ไม่ได้กดดันอะไรเลย แต่ผู้ปกครองกลัวไปเอง
วิธีการแก้คือผู้ปกครองต้องหมั่นสังเกตและเอาใจใส่ลูกให้มากๆ การเอาใจใส่ไม่ใช่การไปตะบี้จะบันถาม เพราะว่าเด็กบางทีไม่อยากตอบ เด็กไม่ตอบผู้ปกครองก็ต้องมีจิตวิทยาในการค่อยๆพูด ผมรู้สึกว่าบางทีแล้วผู้ปกครองก็คาดคั้นเกินไปจนเด็กรำคาญก็มี พอรำคาญก็จะพาลไม่อยากคุยกับพ่อแม่ อาจจะเป็นเพราะว่า ผู้ปกครองมีวัยที่ห่างกับเด็กมากเกินไปเป็นเหตุผลหนึ่ง อีกเหตุผลหนึ่งคือเด็กที่เก่งเทคโนโลยี หรือเก่งเรื่องที่ไม่ใช่เรื่องวิชาการที่เรียนในห้องเรียนปกติจะเป็นเด็กที่มีแนวโน้มจะเก็บตัวไม่ค่อยสุงสิงกับใครทั้งพ่อแม่และเพื่อนเพราะว่าตัวเองมีความสนใจที่เกินกว่าวัยกว่าของเพื่อน เลยไม่มีคนคุยในเรื่องที่เด็กสนใจ คือคุยกับเพื่อนไม่รู้เรื่องนั้นเอง (เช่นเพื่อนสนใจเล่นแต่เกม แต่เด็กอยากจะสร้างเกมเอง หรืออยากจะสร้างโปรแกรมสำหรับทำอะไรที่ซับซ้อนเกินวัย ) เด็กกลุ่มนี้แท้จริงแล้วเป็นเด็กที่น่าสงสารมาก เพราะหาเพื่อนได้ยากแต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นเด็กไม่มีความสุข เด็กกลุ่มนี้มีความสุขที่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองสนใจและมีความสุขที่จะได้สร้างสรรค์อะไรใหม่ๆให้กับโลก นักวิทยาศาสตร์ดังๆ เช่น Einstein หรือนักวาดรูปชื่อดังอย่าง Leonardo ก็เคยเป็นเด็กในกลุ่มนี้ ในกรณีที่เด็กไม่อยากพูดลองดูการบ้านลองถามเค้าเรื่องความสนุกในการเรียน ชวนคุยในสิ่งที่เขาชอบให้เขาอธิบายความคิดหรือความรู้สึกให้ฟัง ถามเขาว่าเขาคิดอย่างไรกับเรื่องต่างๆ โดยผู้ปกครองต้องเป็นผู้ฟังที่ดีอย่าพูดแทรกหรือตัดสินว่าที่เขาคิดถูกหรือผิด แต่ควรจะบอกว่าแนะนำตามสมควร
การเรียนเขียนโปรแกรมที่ Expert-Programming-Tutor สำหรับเด็กทางเราจะมีการสังเกตเด็กแต่ละคนจะได้เรียนไม่เหมือนกันขึ้นกับความสนใจและความสามารถของแต่ละคน การเรียนที่ Expert-Programming-Tutor ทางเราอยากจะทำงานกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดเพื่อพัฒนาเด็กอย่างเต็มศักยภาพของเขา
การจัดการศึกษาที่ถูกต้องคือ จัดให้ทุกคนเรียนตามกำลังความสามารถของตัวเอง เด็กเก่งเรียนเร็วต้องได้เรียนเร็วเด็ก ไม่เก่งวิชานี้ก็ไปช้าหน่อย การคิดแทนเด็กว่าทุกคนต้องไปเหมือนกันมันเป็นความคิดแบบ ฝึกคนมาเป็นทหารของรัฐปรัสเซีย(ซึ่งล่มสลายไปแล้ว) แต่จริงๆคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความชอบและการฝึกฝน จึงไม่ใช่ว่าเรียนเร็วเท่ากับเก่งดีกว่า หรือเด็กเรียนช้าแล้วเป็นปัญหา จริงๆก็แค่เด็กไม่ชอบหรือไม่เข้าใจในบางเรื่อง มันเป็นหน้าที่ของผู้สอนและผู้ปกครอง ที่ต้องให้ความสำคัญกับทุกคน ถ้าคนนั้นเก่งก็ต้องสงเสริมให้เต็มศักยภาพ ถ้าอ่อนก็ต้องค่อยๆเสริมในสิ่งที่เขาขาด โดยไม่กดดันจนเกินไป
ตอนนี้จะมีแนวความคิดและค่านิยมหนึ่งที่แพร่กระจายในสังคมของเราเป็นจำนวนมากคือ
ผมในฐานะครูและได้สัมผัสกับเด็กกลุ่มที่เรียกว่าเป็น กลุ่มที่มีความสามารถพิเศษและกลุ่มเด็กธรรมดา มีความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างออกไปพอสมควร
คนที่บอกว่าเรียนเร็วไม่ดีเนี่ยไม่สงสารเด็กที่เรียนเร็วบ้างเหรอ ต้องมานั่งทนฟังครูพูดเรื่องที่รู้แล้ว
เรื่องค่านิยมที่ผู้ปกครองกลัวแทนเด็กว่าจะได้เรียนอะไรยากเกินไปก็เป็นเรื่องที่ผปค. คิดกันเอาเองทั้งนั้นถ้าไม่ได้เกิดจากการสังเกตตัวเด็กเอง ตัวเด็กเองก็ไม่รู้หรอกว่าอะไรยากหรืออะไรง่าย ถ้าเด็กเก่งเด็กรู้แค่ว่าบางครั้งตัวเด็กก็ทำได้ง่ายๆ และทำได้ดีกว่าเพื่อนๆในวัยเดียวกัน เด็กกลุ่มนี้จะคิดว่าทำไมต้องทำตามครูที่สอนช้าๆแถมยังสอนไม่ได้เรื่องอีก สิ่งที่ผู้ปกครองควรทำคือส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มความสามารถของผู้เรียน ดังนั้นถ้าเด็กไปเร็วก็ควรจะได้เรียนเยอะๆ
การที่จะอัดเรียนพิเศษจนเด็กเกิดความเครียดนี่ผมว่าไม่สมควรอย่างยิ่งและไม่เห็นด้วย แต่ต้องอย่าลืมว่า ค่านิยมของผู้ปกครองเด็กน้อยคนจะสนใจ การคิดแทนเด็กว่าอันนี้ยากไปอันนี้ง่ายไปมันเป็นความคิดแบบ fix mindset ที่คิดว่าคนไม่สามารถพัฒนาแบบไม่ปกติได้ แต่แท้ที่จริงแล้ว คนจัดการศึกษาควรจะเอาตามผู้เรียนเป็นหลัก เด็กบางคนอาจจะรู้สึกว่า(สิ่งที่ผู้ปกครองคิดว่ายาก)ง่าย ก็ได้
บางครั้งเมื่อเราเห็นเด็กทำกิจกรรมที่เกินวัยปกติ หรือเด็กทำข้อสอบที่ยากไป ผู้ปกครองจะเกิดความกังวลว่าเด็กจะกดดันหรือไม่ จะเครียดหรือไม่ (แม่ยังทำไม่ได้เลยลูก อันนี้แม่ว่าแม่เรียนตอน ม. 5 ลูกอยู่ ป. 6 ทำแล้วเหรอลูก )แต่ต้องเข้าใจว่าข้อสอบหรือกิจกรรมที่ดีต้อง challenge นักเรียนต้องมีข้อง่ายเพื่อทำให้มั่นใจ มีข้อกลางเพื่อทำให้ ฝึกคิดให้เร็วและรอบคอบ ข้อยากเพื่อท้าทายความสามารถของนักเรียน ถ้ามีแต่ข้อง่ายๆจะทำไปทำไม ถ้าเรียนสิ่งที่คนรุ่นก่อนเรียนในเวลาเท่ากัน วิทยาศาสตร์และมนุษยชาติคงไม่ก้าวหน้า
ในปัจจุบันมียูทูป มีสารคดีมีสื่อการเรียนที่หลากหลายกว่าสมัยก่อนมันจะเป็นเรื่องยากแค่ไหนที่จะมีเด็กเล็กๆที่สนใจเรื่อง(ที่ผู้ใหญ่คิดว่ายาก)เหล่านี้และทำได้ดีกว่าคนอื่น เด็กเก่งอาจจะไม่ใช่เด็กอัจฉริยะเสมอไป เด็กเก่งก็อาจจะเป็นแค่เด็กที่ไม่ได้สนใจเล่นเกมไม่ได้สนใจเล่นแบบเพื่อน เป็นแค่เด็กสนใจดูสารคดีใน Netflix และชอบอ่านหนังสือก็ได้ จึงทำข้อสอบหรือกิจกรรมยากๆเหล่านี้ได้ดีกว่าเพื่อนๆในวัยเดียวกัน
Tag ที่น่าสนใจ: programming_for_kids computer_programming education coding_for_children computational_thinking mathematics creativity_development programming_languages python java c# vb.net web_development c++ machine_learning
หากมีข้อผิดพลาด/ต้องการพูดคุยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ กรุณาแจ้งที่ http://m.me/Expert.Programming.Tutor
085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM
Copyright (c) 2013 expert-programming-tutor.com. All rights reserved. | 085-350-7540 | 084-88-00-255 | ntprintf@gmail.com