สมัครเรียนโทร. 085-350-7540 , 084-88-00-255 , ntprintf@gmail.com

Tutorial Article

01 programming for kids 02 who 03 STEM 04 GrowthMindset 05 Algorithm 05 programming 06 what is programming 08 Bill Gate 09 learn programming 10 posn computer 11 posn camp 12 Computer Terminology 13 AI 14 What Will AI’s Biggest Contribution To Healthcare Be 15 sort01 16 TrendTechnology2018 17 Pass by Reference or Pass by Value 18 SU101 Update Patch 19 EPT KIDS - Intro 20 EPT KIDS - Create Spaceship Game

ค่ายสอวน.

( ข้อมูลจาก : https://www.posn.or.th/?page_id=84 )

 

การรับสมัคร  : เปิดรับสมัครช่วงเดือนกรกฎาคมของทุกปี

การสอบคัดเลือก :  เดือนสิงหาคมของทุกปี

ประกาศผล  : ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี

ค่าย 1  :  นักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกจะเข้าอบรมช่วงเดือนตุลาคม

ค่าย 2  :  นักเรียนที่ผ่านสอบค่าย 1 จะเข้าอบรมค่าย 2 ช่วงเดือนมีนาคม

การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ TOI

การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ เป็นการแข่งขันระหว่างนักเรียนของทุกศูนย์ สอวน. ทั่วประเทศ ซึ่งระยะเวลาการแข่งขันแต่ละวิชาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับศูนย์ สอวน. เจ้าภาพ ใช้ผลการแข่งขันเพื่อคัดเลือกนักเรียนจำนวนหนึ่งเข้าอบรมที่ สสวท. เพื่อคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันระหว่างประเทศต่อไป สำหรับ 5 สาขาวิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์

สิทธิพิเศษเข้าศึกษาตรงสำหรับนักเรียนที่ผ่านการอบรมค่าย 2

มหาวิทยาลัยให้สิทธิพิเศษแก่นักเรียนของศูนย์สอวน.ในการให้เข้าศึกษาตรงในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยมูลนิธิฯ จะนำรายละเอียดต่างๆ ขึ้นเว็บไซต์ของสอวน. หรือ มหาวิทยาลัยที่ให้สิทธิพิเศษ

การจัดทำตำราของมูลนิธิ

นอกจากมีการจัดกิจกรรมค่ายโอลิมปิกวิชาการแล้วมูลนิธิยังมีโครงการผลิตตำราในวิชาต่างๆด้วย ซึ่งตำราของมูลนิธิเป็นตำราที่มีคุณภาพมาก ทาง EPT หรือ Expert-Programming-Tutor.com แนะนำให้อ่าน ตำราของมูลนิธิให้อ่านดังต่อไปนี้

คอมพิวเตอร์ โครงการตำรารายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน.

 

โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม โครงการตำรารายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน.

คณิตศาสตร์พื้นฐานโครงการตำรารายวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์มูลนิธิ สอวน.

 

ขอบเขตเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมในการแข่งขัน รอบ TOI

( ข้อมูลจาก https://toi14.kmutnb.ac.th/scope.html )

แบ่งได้เป็น 3 หมวด คือ (1) คณิตศาสตร์ (2) พื้นฐานวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ (3) อัลกอริทึม

  • หมวดคณิตศาสตร์
    • 1.1 เลขคณิตและเรขาคณิต
    • 1.1.1 จำนวนเต็ม คุณสมบัติของเลขจำนวนเต็ม (ค่าบวก ค่าลบ เลขคู่ เลขคี่ การหารลงตัว จำนวนเฉพาะ)
    • 1.1.2 เลขเศษส่วน และร้อยละ
    • 1.1.3 จุด เวคเตอร์ พิกัดจุดแบบคาร์ทีเซียน (Cartesian coordinates) ในตารางสองมิติที่มีพิกัดเป็นจำนวนเต็ม
    • 1.1.4 ระยะทางแบบยูคลิด ทฤษฏีพิธากอรัส
    • 1.1.5 ส่วนของเส้นตรง จุดตัดของเส้นตรง และคุณสมบัติพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง
    • 1.1.6 มุม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส วงกลม
  • 1.2 โครงสร้างไม่ต่อเนื่อง (discrete structures)
    • 1.2.1 ฟังก์ชัน ความสัมพันธ์ และเซต
    • 1.2.2 ตรรกศาสตร์พื้นฐาน
    • 1.2.3 วิธีการพิสูจน์
    • 1.2.4 วิธีการนับเบื้องต้น
      • 1.2.4.1 กฎของการบวกและกฎของการคูณ (Sum rule and Product rule), หลักการเพิ่มเข้า-ตัดออก (inclusion-exclusion principle), ลำดับเลขคณิตและเรขาคณิต จำนวนแบบฟีโบนัชชี (Fibonacci numbers)
      • 1.2.4.2 กฎรังนกพิราบ (Pigeonhole principle) เพื่อใช้ในการหาขอบเขต
      • 1.2.4.3 การเรียงสับเปลี่ยน และวิธีจัดหมู่ระดับพื้นฐาน
      • 1.2.4.4 ฟังก์ชันเลขเศษส่วน (Fractional function) และสัมประสิทธิ์ทวินาม (Binomial coefficient)
  • 1.2.5 กราฟและต้นไม้
    • 1.2.5.1 ต้นไม้และคุณสมบัติพื้นฐาน
    • 1.2.5.2 กราฟไม่มีทิศทาง (degree, path, cycle, connectedness, Handshaking Lemma)
    • 1.2.5.3 กราฟแบบมีทิศทาง (in-degree, out-degree, directed path/cycle)
    • 1.2.5.4 Spanning trees
    • 1.2.5.5 วิธีการเดินผ่านต้นไม้ (traversal strategies: defining the node order for ordered trees)
    • 1.2.5.6 'Decorated' graphs with edge/node labels, weights, colors
    • 1.2.5.7 Multigraphs และ graphs ที่มี self loops
  • หมายเหตุ การแข่งขันไม่ครอบคลุมเนื้อหาเรื่อง planar graphs,
  • 1.3 เนื้อหาที่ไม่รวมอยู่ในการแข่งขัน
    • 1.3.1 แคลคูลัส
    • 1.3.2 ความน่าจะเป็น
    • 1.3.3 สถิติ
    • 1.3.4 จำนวนจริงและจำนวนเชิงซ้อน
    • 1.3.5 ภาคตัดกรวยทั่วไป (parabolas, hyperbolas, ellipses) แต่เรื่องวงกลมอยู่ภายใต้ขอบเขตเนื้อหาในการแข่งขันระดับชาติ
    • 1.3.6 โพลิกอน (ในระดับนานาชาติจะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับโพลิกอน)
  • 2.1 พื้นฐานด้านการเขียนโปรแกรม
    • 2.2. ทักษะการแก้ปัญหา (problem-solving skill)
  • 2.3 พื้นฐานโครงสร้างข้อมูล
    • 2.3.1 ชนิดข้อมูลดั้งเดิม (Primitive data type) ได้แก่ Boolean, signed/unsigned integer, character
    • 2.3.2 แถวลำดับ (อาเรย์ อาเรย์หลายมิติ)
    • 2.3.3 Record/Structures
    • 2.3.4 สตริงและการดำเนินการกับสตริง
    • 2.3.5 Static และ Stack allocation
    • 2.3.6 Lined structures (ทั้งที่เป็นแบบเส้นตรง และแบบที่แบ่งเป็นสาขาได้)
    • 2.3.7 การสร้าง โครงสร้างกองซ้อน (stack), คิว (queue), ต้นไม้ และกราฟ
    • 2.3.8 การเลือกโครงสร้างข้อมูลที่เหมาะสม
    • 2.3.9 คิวลำดับความสำคัญ (priority queue), ไดนามิกเซต (dynamic set), ไดนามิกแมพ (dynamic map)
  • 2.4 การเรียกตัวเองซ้ำ (Recursion)
    • 2.4.1 แนวคิด
    • 2.4.2 ฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ที่เรียกตัวเองซ้ำ
    • 2.4.3 วิธีแบ่งแยกและเอาชนะ (divide and conquer)
    • 2.4.4 อัลกอริทึมการย้อนรอยแบบเรียกตัวเองซ้ำ (recursive backtracking)
  • 3.1 พื้นฐานการวิเคราะห์ความซับซ้อนของอัลกอริทึม (algorithmic complexity)
  • 3.2 กลวิธีทางอัลกอริทึม
    • 3.2.1 Brute-Force algorithm
    • 3.2.2 Greedy algorithm
    • 3.2.3 การแบ่งแยกและเอาชนะ
    • 3.2.4 Backtracking ทั้งที่เป็นแบบเรียกตัวเองซ้ำ และไม่เรียกตัวเองซ้ำ
    • 3.2.5 Branch-and-Bound algorithm
    • 3.2.6 Pattern matching and string/text algorithm
    • 3.2.7 Dynamic programming
  • 3.3 อัลกอริทึมเชิงคำนวณพื้นฐาน
    • 3.3.1 อัลกอริทึมเชิงตัวเลขพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับจำนวนเต็ม เช่น Radix Conversion, Euclid's algorithm, Primality test in O(N1/2), Sieve of Eratosthenes, Factorization, Efficient exponentiation
    • 3.3.2 การจัดการอาร์เรย์ขั้นพื้นฐาน (รวมถึงการทำฮิสโทแกรม และ Bucket sort)
    • 3.3.3 Sequential และ Binary search
    • 3.3.4 Search by elimination
    • 3.3.5 การแบ่งข้อมูล (partitioning) การจัดลำดับด้วยการแบ่งข้อมูลซ้ำๆ Quick sort
    • 3.3.6 การเรียงข้อมูลที่มีเวลาที่แย่ที่สุดเป็น O(NlogN) เช่น Heap sort และ Merge sort
    • 3.3.7 Binary heap พื้นฐาน และ Binary search tree
    • 3.3.8 การบรรยายโครงสร้างกราฟ เช่น adjacency list และ adjacency matrix
    • 3.3.9 Depth-first and breadth-first traversals of graphs และการหาองค์ประกอบที่เชื่อมต่อกันของกราฟแบบไม่มีทิศทาง
    • 3.3.10 Shortest path algorithm เช่น Dijkstra, Bellman-Ford และ Floyd-Warshall
    • 3.3.11 Transitive closure (Floyd's algorithm)
    • 3.3.12 Minimum spanning tree
    • 3.3.13 Topological sort

โปรแกรมที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแข่งขัน

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแข่งขันใช้ระบบปฏิบัติการ Linux โดยมีโปรแกรมที่ติดตั้งดังนี้

  1. ระบบปฏิบัติการ Ubuntu 64 บิต (14.04.5)
  2. Web browsers: Google Chrome (58.0.3029.110)
  3. Editors: codeblocks (16.01), vim (7.4.52), kate (3.13.3), kwrite (4.13.3), kdevelop(4.6.0), emacs(24.3.1), gedit (3.10.4), nano (2.2.6)
  4. Compiler: gcc, g++ (4.8.4)
  5. Debugger: gdb (7.7.1)

หมายเหตุ: ตัวเลขในวงเล็บคือหมายเลขเวอร์ชั่นของโปรแกรม ทางคณะกรรมการอาจเปลี่ยนแปลงเวอร์ชั่นของโปรแกรมต่างๆ เป็นเวอร์ชั่นที่ใหม่ขึ้น หากเห็นสมควร

ข้อกำหนดของระบบปฏิบัติการและตัวแปลภาษาที่ใช้ในการแข่งขัน

1. โปรแกรมที่ผู้เข้าแข่งขันจัดทำในระหว่างการแข่งขัน กำหนดให้เขียนตามมาตรฐานของภาษา C หรือภาษา C++ ไม่อนุญาตให้เขียนโปรแกรมที่ทำงานในGraphic Mode

2. ฟังก์ชันทั้งหมดในการเขียนโปรแกรม กำหนดให้ใช้ฟังก์ชันจากคลังมาตรฐานของภาษา C (The Standard C Library), conio.h (เฉพาะการทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์) และ Standard Template Library (STL) เท่านั้น

  • ไม่อนุญาตให้ใช้ฟังก์ชันจัดการกับแฟ้มและอุปกรณ์โดยตรงที่กำหนดรูปแบบใช้งานในแฟ้ม (fentl.h), (io.h) และ (iomanip.h)
  • ไม่อนุญาตให้โปรแกรมสร้างแฟ้มข้อมูลสำรองเพิ่มเติมระหว่างการทำงาน ห้ามอ่านหรือเขียนแฟ้มข้อมูลอื่นนอกเหนือจากที่โจทย์ระบุ
  • ไม่อนุญาตให้เรียกใช้โปรแกรมอื่นๆ (เช่น ผ่านทางฟังก์ชัน system) หรือเรียกใช้ system call นอกเหนือจากที่ใช้งานปกติ
  • ไม่อนุญาตให้ทำการคำนวณแบบมัลติโปรเซสซิง (multi-processing) เช่น ไม่อนุญาตให้โปรแกรมเรียกใช้ฟังก์ชันใน thread library ต่างๆ

3. โปรแกรมภาษา C ที่ผู้เข้าแข่งขันจัดทำในระหว่างการแข่งขัน กำหนดให้เขียนโปรแกรมที่ส่วนขยายเป็น .c สำหรับภาษา C++ ให้ใช้นามสกุล .cpp และต้องอยู่ในรูปแบบที่สามารถแปล (compile)

4. ให้เป็นโปรแกรมที่สามารถทำงานได้โดยสมบูรณ์จากบรรทัดคำสั่ง (command line)

5. ใช้ GCC (GNU compiler collection) ในการตรวจโปรแกรมเพื่อให้คะแนน โดยใช้วิธีการแปลและให้ทำงานจากบรรทัดคำสั่งเท่านั้น โปรแกรมจะถูกสั่งให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการและคอมไพเลอร์เดียวกันกับที่ผู้เข้าแข่งขันเลือกใช้ ทั้งนี้เครื่องที่ใช้ในการตรวจสอบคำตอบของผู้เข้าแข่งขันจะเลือกระบบปฏิบัติการและคอมไพเลอร์โดยพิจารณาข้อมูลจากที่กำหนดไว้ที่ต้นไฟล์คำตอบของผู้เข้าแข่งขัน (รายละเอียดเพิ่มเติมอยู่ในหัวข้อ 'ข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแข่งขัน')

6. คอมไพเลอร์ออปชัน (compiler option) ที่ใช้ในการแข่งขันจะทำการออปทิไมซ์ (optimize) โปรแกรมโดยใช้ออปชัน -O2

7. อนุญาตให้เขียนโปรแกรมภาษา C ตามมาตรฐาน C++11 โดยคอมไพเลอร์ออปชันที่กำหนดเพิ่มใช้ออปชัน -std=c++11

ตัวอย่างข้อสอบเก่าสอวน.คอมพิวเตอร์สำหรับสอบคัดเลือกเข้าค่าย 1

หมายเหตุ คำว่า Downloads ใช้ D Capital และเติม s

ปี 2561 https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_computer_2561.pdf

ปี 2560 https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_computer_2560.pdf

ปี 2559 https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_computer_2559.pdf

ปี 2558 https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_computer_2558.pdf

ปี 2557 https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_computer_2557.pdf

ปี 2556 https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_computer_2556.pdf

ปี 2551 https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_1-51.pdf

https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_2-51.pdf

https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_3-51.pdf

https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_4-51.pdf

ปี 2554-2550 https://expert-programming-tutor.com/Downloads/posn/posn_computer_44-50.zip

Timeline การแข่งขันโดยประมาณ

         

การตกค่าย

คือการเข้าค่ายแล้วไม่ผ่านไปยังค่ายถัดไป เพราะว่าไม่ผ่านการสอบคัดเลือกซึ่งจะได้สิทธิ์ในการสอบอีกครั้งที่ระดับเดิมในปีถัดไปแต่อาจจะไม่มีสิทธิ์เข้าค่ายอีกรอบ ดังนั้นถ้าตกค่ายก็ไม่ต้องตกใจครับเรายังสามารถไปต่อได้โดยในเวลา 1 ปีที่เหลือเราสามารถทบทวนตัวเองและปิดจุดอ่อนของเราได้ครับ

จะเห็นว่าการเส้นทางสู่การเป็นนักเรียนโอลิมปิกจะใช้เวลาสอบและเข้าค่ายประมาณ 2 ปีถึงจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ ดังนั้นนักเรียนชั้น ม. 5 จะเป็นปีสุดท้ายที่สามารถแข่งได้เพราะ ม. 6 จะเวลาไม่พอเนื่องจากต้องเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยแล้ว นอกจากนี้ในการแข่งแต่ละรอบนอกจากจะต้องแข่งกับนักเรียนที่มาเข้าค่ายใหม่ๆด้วยกันแล้วจะมีนักเรียนที่ตกค่ายในปีที่ผ่านๆมามาแข่งด้วยซึ่งกลุ่มนักเรียนที่ตกค่ายนี้จะเป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์มากขึ้นเพราะไป อัพสกิลมา 1 ปีนั้นเอง

 

การเตรียมตัวสำหรับการสอบแข่งขัน สอวน. คอมพิวเตอร์

การสอบรอบแรกเพื่อเข้าค่าย สอวน.ค่ายที่ 1

EPT แนะนำเรียนคณิตศาสตร์เยอะๆ และอาจจะเรียนเขียนโปรแกรม C (C101 ) หรือ C++ (CPP101) ด้วยก็ได้แต่เน้นที่คณิตศาสตร์

ในรอบนี้จะสอบคณิตศาสตร์ครับเนื้อหาที่สอบจะเป็นคณิตศาสตร์ในระดับม.ต้น + บางเรื่องของม.ปลายถึง ม. 5 ทั้งสองเทอมของ ม. 6 มีบ้างแต่ว่าน้อยครับ และในปีใหม่ๆนี้ยังมีเรื่องของการคิดเชิงคำนวณเพิ่มเข้ามาด้วยครับประมาณ 30 % ข้อแตกต่างระหว่างการสอบสอวน. Computer กับการสอบ สอวน. คณิตศาสตร์อยู่ตรงที่ การสอบ สอวน. Computer จะเป็นข้อสอบที่ไม่ได้เน้นเลขแบบยากมากแต่จะเน้นเรื่องของปัญหาเชาว์เพิ่มเติมเข้ามาด้วย

การเตรียมตัวแนะนำให้เรียนคณิตศาสตร์เยอะๆและฝึกทำข้อสอบเก่าแบบจับเวลาครับและค่อยๆดูว่าเราอ่อนเรื่องไหนก็ฝึกบทนั้นๆเพิ่มครับ

การเรียนเขียนโปรแกรมที่ Expert-Programming-Tutor สำหรับการสอบในรอบนี้จะช่วยแค่ 30% ของการคิดเชิงคำนวณครับ

ในการแข่งขันรอบนี้นักเรียนสามารถเข้าสอบแข่งขันได้ตั้งแต่ อยู่ประถมปลายเลยทีเดียวครับ (ซึ่งก็เคยมีนักเรียนที่เรียนที่ Expert-Programming-Tutor ของเราผ่านตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น ป. 6 ครับ ซึ่งน่าภาคภูมิใจมากเลยครับผม ) แต่น้องๆประถมและน้องๆ มัธยมต้นจะเสียเปรียบพี่ๆม.ปลายอยู่หน่อยนึ่งครับเพราะว่าคณิตศาสตร์บางเรื่องยังไม่ได้เรียนใน โรงเรียนปกติ อาจจะต้องอ่านเองหรือเรียนพิเศษเสริมเอาครับ ซึ่งนักเรียนบางคนที่ชอบคอมพิวเตอร์แต่อาจจะมาเสียเปรียบตรงคณิตศาสตร์เพราะว่าคณิตศาสตร์ อาจจะไม่แข็งแรงก็เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากครับ แต่อยากจะบอกเด็กๆว่าคณิตศาสตร์จำเป็นต่อการเรียนเขียนโปรแกรมจริงๆครับ เพราะถ้าไม่สำคัญทางมูลนิธิไม่เอามาออกเป็นข้อสอบแน่นอนครับ และในการเรียนเขียนโปรแกรมในระดับลึกๆขึ้นไป ล้วนแล้วแต่ใช้คณิตศาสตร์ทั้งนั้นครับ บางทีพอเรียนระดับ ปริญญาโทหรือเอกแล้ว ถึงแม้ว่าจะเรียน Computer อยู่ก็ตามแต่เราจะแปลกใจเลยครับว่าเรากำลังศึกษาสิ่งที่เป็นเลขอยู่เยอะขนาดนี้เลยหรือเนี่ย เพราะอย่างนั้นอย่ากลัวเลขครับ อย่าคิดว่าไม่มีประโยชน์ ในวัยเด็กนี้อัดเลขไปเยอะๆ แล้วโตขึ้นทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและระดับสูงๆขึ้นไปจะรู้สึกขอบคุณพ่อแม่และคุณครูที่อัดเลขให้เยอะๆตอนม.ต้นครับผม

การสอบเพื่อคัดเลือกผู้ที่ผ่านค่าย1เพื่อไปเข้าค่าย2

EPT แนะนำเรียน Course C++ (CPP101) หรือ C (C101) และฝึกทำโจทย์จำนวนมาก

พอผ่านการคัดเลือกรอบแรกแล้วจะเป็นการเข้าค่ายครับการสอบในค่ายจะมีขึ้นหลังจากมีการเรียนประมาณ 8  วันรอบแรก และจะมีการสอบรอบที่ 2 หลังจากเรียนจบประมาณ 16 วันครับ เป็นคล้ายๆสอบ Mid term กับ Final นั้นเองครับ ครับเนื้อหายังคงมีคณิตศาสตร์ที่เข้มข้นขึ้นและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ภาษา C ครับเน้นว่า C นะครับ ไม่ใช่ C++ในตอนเข้าค่ายเราจะได้เจอเพื่อนๆต่างโรงเรียนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันครับ ในค่ายนี่สนุกมากครับไปเล่นกับเพื่อนๆ (ระวังอย่าเล่นเยอะเกิน)ได้คุยกับคนที่อยู่ในวัยเดียวกันชอบเรื่องคล้ายๆกัน อย่างบางทีเพื่อนบางคนที่เจอในค่ายก็รู้จักกันจนโตทำงานเจอกันก็ยังสนิทกันอยู่เลยครับ และยังได้ Connection ในสายงานต่างๆด้วยครับ นอกจากนี้ยังได้เจอคุณครูในค่ายที่เก่งสุดๆด้วยครับ โดยคุณครูที่มาสอนในค่ายจะเป็นคุณครูที่สอนเก่งมากครับ บางคนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความรู้กว้างขวางเลยทีเดียวเราจะได้เรียนรู้เยอะเลยครับผม

ความรู้ที่ใช้สอบเขียนโปรแกรมจะมีเรื่อง Variable (เน้นจำนวนจริง ) if-else, loop , function , recursive - function , array , pointer , struct บางปีจะมีเรื่อง file เพิ่มเข้ามาด้วยครับ

สำหรับการเตรียมตัวค่ายนี้จะต้องเตรียมการเขียนโปรแกรมภาษา C ครับ โดย Expert-programming-Tutor มีสอนทั้ง C และ C++ ครับ ถ้าอยากเรียนแบบคุ้มๆ ได้ความรู้เรื่อง OOP ด้วยสามารถเรียน C++ ได้เลยครับ เพราะว่า ใน Course C++ ของใน จะมีสอนส่วนที่เป็น C อยู่แล้ว (และน้องๆก็จะได้เรียน C ในค่ายอยู่แล้วและ C กับ C++ ก็มีความใกล้เคียงกันมากครับผม ) และจะได้ความรู้เรื่อง อื่นๆไปด้วยครับ ที่ถึงแม้ในค่ายนี้อาจจะยังไม่ได้ใช้โดยตรงแต่ในค่ายถัดไปถ้าเราผ่านการที่รู้เรื่อง C++ จะได้เปรียบมากครับ เพราะจะทำให้สามารถเรียนเรื่องๆต่างๆได้เร็วมากขึ้นเพราะว่าคุ้นเคย Concept เหล่านั้นอยู่แล้วครับ การใช้ C++ จะได้เปรียบกว่าการใช้ C อยู่ค่อนข้างมากครับเพราะว่าสามารถใช้ standard template library หรือว่า STD ครับ ซึ่ง STD นี้มีของเทพๆอยู่เยอะเลยครับ เช่นถ้ามีเพื่อนๆที่เขียน C++ ไม่เป็นอาจจะต้องใช้การเขียน ภาษา C ซึ่ง Codeอาจจะยาวเป็น 20 บรรทัดแต่ถ้าใช้ STD เป็นจะสามารถลดการเขียน Code เหลือ 5 บรรทัดได้ครับ ซึ่งการเขียนโปรแกรมได้เร็วก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการแข่งขันครับ

ข้อสอบจะประกอบด้วย(อ้างอิงจากศูนย์สอวน.กรุงเทพนะครับ ศูนย์อื่นอาจจะมีแตกต่างกันไปบ้างตามสมควร)

  1. การเขียนโปรแกรม (มีสอนที่ EPT)
  2. การไล่ Code (มีสอนที่ EPT)
  3. การไล่ Flowchart(มีสอนที่ EPT)
  4. คณิตศาสตร์

ในการสอบเขียนโปรแกรมในรอบนี้จะใช้คนตรวจครับยังไม่ได้ใช้โปรแกรมตรวจ ซึ่งมีข้อดีคือถ้าเขียนไม่ถูกทั้งหมดก็ยังอาจจะได้คะแนนบ้างไม่เหมือน ใช้โปรแกรมตรวจเพราะว่าการใช้โปรแกรมจะให้ 0 เลยในกรณีที่คำตอบไม่ถูกต้องแม้ว่าจะทำมาเกือบจะสมบูรณ์แล้วก็ตาม

คำแนะนำที่ผมสอนเด็กในค่ายนี้มาหลายปีนะครับสำคัญที่สุดเลย ในค่ายนี้การเขียนโปรแกรมจะไม่ได้ยากครับ (  OK อาจจะยากกว่าการเรียน ปี 1 ในบางมหาวิทยาลัยในไทยด้วยซ้ำแต่เด็กที่มาอยู่ตรงนี้เป็นเด็กที่ได้ ผ่านการคัดเลือกด้านคณิตศาสตร์ มาแล้วครับเลยจะรู้สึกไม่ยากมาก) แต่ต้องการความรอบคอบอย่างสูง เด็กๆจะบอกว่าทำได้แต่ผิดเล็กผิดน้อยครับ คำแนะนำคือ

  1. ทำแบบฝึกหัดเยอะเยอะครับ ซึ่ง สามารถหาทำได้จาก โจทย์ที่ Expert-Programming-Tutor ให้เองและ จาก Web Site : programming.in.th แนะนำว่าหมวด 00 ควรทำให้ได้หมด ถ้าให้ดีควรฝึกทำหมวด 01 ด้วยถ้ามีเวลา และถ้ามาเรียนกับเราและมีเวลาเราจะมีโจทย์เสริมให้ด้วยครับ
  2. พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะว่าตอนทำข้อสอบต้องการสมาธิและหัวที่ปรอดโปร่งมากครับการ พักผ่อนทำให้เราได้เตรียมตัวสมองก่อนเข้าสอบครับ ข้อสอบไม่ได้ยาก แต่ทำเสร็จจะรู้สึกเหมือนไปวิ่งมาราธอนมาครับ
  3. กินของหวานๆสักนิดก่อนสอบ ความหวานจะให้น้ำตาลซึ่งเป็นพลังงานที่สำคัญสำหรับทำข้อสอบครับ สำหรับนร.ที่พึ่งเคยมาเรียนเขียนโปรแกรมครั้งแรกจะพูดเหมือนกันหมดเลยว่าข้อสอบไม่ได้ยากแต่ทำเสร็จแล้วเหนื่อยมาก

การสอบเพื่อคัดเลือกผู้ที่ผ่านค่าย2 และรอบ TOI (การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับประเทศ)

EPT แนะนำ Course Data Structure and Algorithm DA101-J / DA101-C

ในตอนนี้นะครับนักเรียนน่าจะคุ้นเคยการเขียนโปรแกรมมามากพอสมควรแล้วครับซึ่งในการสอบค่าย 2 และค่ายต่อๆไปนี้เนื้อหาจะเข้มข้นมากทีเดียวครับและก็สนุกมาก ด้วยครับ ถ้าเทียบในมหาวิทยาลัยจะอยู่ ปี 2 เทอม  2 และปี 3 เทอม 1 ครับ ซึ่งเนื้อหาจะประกอบด้วย คณิตศาสตร์ ซึ่งจะมีคณิตศาสตร์แบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Structure )เพิ่มเติมเข้ามาด้วยครับ Calculus นี้เป็น คณิตศาสตร์แบบต่อเนื่องครับ ส่วน Discrete Structure จะเน้นที่ระบบจำนวน จำนวนเต็ม (ไม่ใช่เศษส่วน) Function , Recurrence Relation อะไรพวกนี้ครับ และการสอบเขียนโปรแกรมจะเน้น Data Structure และ Algorithm ครับ โจทย์ถ้าอยากฝึกทำสามารถดูได้จาก www.programming.in.th หมวด 01 และ 10 ครับผม

ตัวอย่างที่ 1 การวางแผนเพื่อให้ลูกได้เข้าสอวน.คอมพิวเตอร์ตอนม.ต้น

การวางแผนดีมีชัยไปกว่าครึ่งครับและการเรียนสมัยนี้ก็โหดด้วย! ถ้าอยากให้ลูกเข้าได้ถึงรอบลึกๆ การผ่าน TOI จะได้สิทธิประโยชน์ด้านการเข้ามหาวิทยาลัย และถ้าได้ไปรอบหลังจาก TOI จะมีทุนการศึกษาจากทั้งรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆมากมายครับผม ดังนั้นถ้าอยากให้ลูกไปถึงจุดนั้นการวางแผนเร็วจะเป็นเรื่องดีครับ แต่ผมคิดว่าการสอบโอลิมปิกวิชาการเป็นเรื่องของเด็กที่มีความสามารถพิเศษครับ ไม่ควรบังคับเด็กครับ ถ้าลูกของเราไม่ชอบไม่สนใจและไม่มีความสามารถพิเศษก็ไม่เป็นไรครับ เราสามารถเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อวัตถุประสงอื่นๆได้ครับ การบังคับจะทำให้เด็กเกิดความกดดันโดยไม่จำเป็น แต่ข่าวดีคือในกรณีที่เด็กอาจจะไม่ได้มีความสามารถพิเศษแต่ถ้าเด็กชอบเราสามารถวางแผนเพื่อให้เด็กไปสู่จุดมุ่งหมายได้ครับ และไม่แน่ว่า ลูกของคุณอาจจะได้เป็นตัวแทนประเทศไปแข่งโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศก็ได้ครับ

ชั้น

Action

ป.4

ในชั้น นี้ยังเด็กยังเด็กมากครับ บางคนยังไม่ออกจากโลกแห่งจินตนาการเลยครับ บางคนยังนั่งนิ่งๆ นานๆกว่า 10 นาทีไม่ได้ครับ ดังนั้นยังไม่ต้องเน้นว่าจะเข้า สอวน.หรืออะไรครับควรให้เรียนไปตามความชอบหรือความสนใจก็สามารถทำได้ครับและผู้ปกครองลองสังเกตดูว่าลูกสนใจสิ่งใดครับ

แต่ถ้าอยากให้ลูกเตรียมตัวสามารถทำได้โดยการให้ลูกศึกษาคณิตศาสตร์ของระดับประถมให้จบให้ได้ใน ป. 4 นี้ครับถ้าน้องหัวไวทำได้ไม่ต้องห่วงว่าจะเกินวัยของน้องวัยนี้เด็กๆสามารถเรียนรู้ได้เร็วมากแต่อาจจะต้องมีเครื่องล่อใจหน่อยครับ คำแนะนำคืออย่าตามใจเด็กมากเกินไปหรือ เข้มงวดกับเด็กมากเกินไปครับ เพราะการเข้มงวดมากเกินไปการบังคับเขาโดยที่ไม่ได้ดูว่าเขาไหวไหมเหนื่อยไหมจะยิ่งส่งผลตีกลับครับผมจะทำให้เด็กพาลไม่ชอบวิชาที่อยากให้เรียนครับ คณิตศาสตร์ในระดับประถมเนื้อหาค่อนข้างน้อยครับถ้าเด็กชอบสามารถเรียนจบได้ในเวลารวดเร็วครับ และควรให้เด็กฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์เยอะๆครับ โจทย์ในระดับนี้จะเน้น Computation หรือการคำนวณครับก็ให้ทำไปเยอะๆเป็นการฝึกสมองครับ

นอกจากนี้อีกเรื่องหนึ่งคือภาษาอังกฤษครับเพราะว่าสำหรับการเขียนโปรแกรม Text Book และการอ่านข้อมูลต่างๆใน Internet ก็ล้วนแล้วแต่เป็นภาษาอังกฤษครับผม

ถ้าเด็กในวัยนี้คุณพ่อคุณแม่อยากให้เรียนเขียนโปรแกรม EPT จะแนะนำ Course Level up ครับ Course นี้จะได้เรียนเขียนโปรแกรมโดยใช้ Visual Programming ได้ฝึกลำดับความคิดหรือ Algorithm และยังได้ต่อหุ่นยนต์ และได้ทำการทดลองเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์และวงจรไฟฟ้าทำงานตามที่ต้องการด้วย แต่สำหรับการแข่งโอลิมปิกวิชาการ เรื่องที่สำคัญที่สุดคือคณิตศาสตร์ครับ

ป.5

ถ้าจะมุ่งไปโอลิมปิกวิชาการและเด็กหัวไปไหวแล้ว ในชั้นนี้หลังจากที่ป.4 เก็บเลขระดับประถมหมดแล้วในตอนนี้ควรเริ่มต้นเก็บคณิตศาสตร์ ม.ต้นครับ และต้องเน้นทำโจทย์เยอะๆ โดยในชั้นนี้เน้นที่ความเร็วและความรวบคอบเน้นทำโจทย์จำนวนมาก ลองทำแบบจับเวลาด้วยจะยิ่งดีครับ ถ้าความรอบคอบมีแล้วในลำดับต่อไปจะต้องเน้นโจทย์แนววิเคราะห์และปัญหาเชาว์ครับ

และแน่นอนที่สำคัญอีกเรื่องคือภาษาอังกฤษเช่นเดิม

Course ที่ EPT แนะนำยังคงเป็น Course Level-UP เช่นเดิมครับ

ป.6

ในชั้นนี้แนะนำว่าคณิตศาสตร์ของม.ต้นควรจะเรียนจบหมดแล้วครับ และเริ่มลองทำโจทย์ที่ใช้การวิเคราะห์มากขึ้นครับ อาจจะต้องจ้างครูมาสอนพิเศษเลขครับผม และให้ลองทำโจทย์ที่เป็นพวกพิสูจน์และแสดงวิธีทำมากๆ ถ้ามีเวลาควรจะเริ่มเรียนเลขของ ม.4 เรื่อง SET และ ตรรกศาสตร์ควบคู่ไปด้วย

เด็กวัยนี้อาจจะต้องเตรียมตัวสอบเข้าโรงเรียน ม.  1 ด้วยดังนั้นผู้ปกครองในฐานะโค๊ชส่วนตัวของลูกต้องแบ่งเวลาให้เด็กดีดีครับผม

และแน่นอนที่สำคัญอีกเรื่องคือภาษาอังกฤษครับ

Course ที่ EPT แนะนำยังคงเป็น Course Level-UP เช่นเดิมครับ แต่ถ้าเด็กคุณเคยกับคณิตศาสตร์ ม. 4 ดีแล้วและสามารถนั่งนิ่งๆเป็นเวลานานได้แล้ว สามารถเรียนเขียน โปรแกรม Course C (C101 ) หรือ Course C++ (CPP101) ไปเลยก็ได้ครับ

ม.1

แนะนำเรียนเลขของม. 4 และเริ่มเรียนคณิตศาสตร์ของ ม. 5 ครับผม

เน้นเรื่องการแสดงวิธีทำจะช่วยฝึกการคิดเป็นขั้นตอนครับและ ฝึกโจทย์เก่าๆของรอบคัดเลือกเข้าค่าย 1 ครับ

เด็กในวัยนี้อาจจะเพิ่งเปลี่ยนโรงเรียนใหม่อาจจะต้องมีกระบวนการในการปรับตัวเพิ่มเติมครับผม

และอย่าลืมภาษาอังกฤษเช่นเคยในวัยนี้เด็กน่าจะอ่านภาษาอังกฤษได้ดีแล้วลองให้เด็กเข้า WEB SITE หรือ YOUTUBE เพื่อฝึกเพิ่มเติมก็ได้ครับ

Course เรียนเขียนโปรแกรมที่ EPT แนะนำ สำหรับเด็กที่เก็บเลขไปถึงม. 4 เรื่อง SET ตรรกศาสตร์ แล้วสามารถเรียน C (C101) หรือ C++ (CPP101 ) ได้เลยครับ

ในปีนี้อาจจะให้เด็กไปลองสอบ สอวน.เล่นๆลองสนามก็ได้ครับ ติดก็ดีครับไม่ติดก็ไม่ต้องเสียใจเพราะว่าแค่มาลองสนามเฉยๆครับผมจะได้รู้กติกาและแนวทางครับผม ถ้าติดค่ายในปีนี้ก็สามารถเรียน C++ หรือ C ที่ EPT ได้เลยเป็นการเตรียมตัวครับ

ม.2

ปีนี้แนะนำให้เด็กจบคณิตศาสตร์ของ ม. 5 ให้ได้ครับ และเช่นเดิมคือฝึกทำโจทย์เยอะๆ
ปีนี้จะเป็นปีที่ เด็กจะเริ่มติดค่ายกันเยอะครับเพราะว่าคณิตศาสตร์ที่เรียนสังสมมาเริ่มออกดอกออกผลครับ และเด็กเรียนถึงคณิตศาสตร์ ม. 5 เรียบร้อยแล้วซึ่งเพียงพอสำหรับค่ายแรกครับผม

ม.3

ปีนี้ไม่มีอะไรมากครับเพราะคณิตศาสตร์ก็เก็บมาหมดแล้วและเด็กน่าจะได้เรียนเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว

 
  • กรณียังไม่เคยติดค่ายเลย ในกรณีที่ไม่ติดค่ายให้ลองทบทวนตัวเองดูว่าเราอ่อนจุดไหนและไม่เข้าใจจุดไหนให้เน้นจุดนั้นเป็นพิเศษครับโดยเฉพาะคณิตศาสตร์ครับ
  • กรณีเคยติดค่าย 1 แล้วแต่ตกค่าย 1 แนะนำเรียน C (C101) หรือ C++ (CPP101) เพื่อเตรียมตัวสอบปีถัดไป
  • กรณีเคยติดค่าย 2 แล้วแต่ไม่ผ่านไปรอบ TOI แนะนำเรียน DATA STRUCTURE AND ALGORITHM ที่ EPT
  • กรณีที่ผ่าน รอบ TOI แล้ว ยินดีด้วยความตอนนี้คุณมาไกลมากแล้ว คุณต้องรู้อะไรดีดีเยอะแล้วครับคำแนะนำในที่นี้อาจจะไม่จำเป็นแล้ว สู้ๆครับ
  • กรณีอื่นๆ ปรึกษาครูเพิ่มเติมได้ที่อาคารของเราเลยครับและกรุณาโทรแจ้งล่วงหน้าก่อนเข้ามา

 

ตัวอย่างที่ 2 การวางแผนเพื่อให้ลูกได้เข้าสอวน.คอมพิวเตอร์ตอนม.4

ในตัวอย่างนี้เด็กจะเริ่มจากเตรียมตัวตอนม.ต้นครับ ซึ่งเป็นลักษณะที่คนทั่วๆไปทำครับเพราะว่าไม่ได้ใช้เวลานานและเด็กเริ่มโตเริ่มเข้าใจอะไรมากยิ่งขึ้นครับ

 

ชั้น

Action

ม.1

ด้านคณิตศาสตร์ แนะนำว่า ตอนปีนี้แนะนำให้เรียนเลขให้จบเนื้อหาเลข ม.ต้นให้ได้เยอะที่สุด และเน้นการทำโจทย์จำนวนมากๆครับ

ด้านผู้ปกครอง ควรแนะนำให้กำลังใจไม่ควรกดดันลูกมากเกินไป

ด้านเขียนโปรแกรม แนะนำเรียน Course Level-Up หรือ ถ้าจบเลขม.ต้นแล้วสามารถเรียน  C (C101) หรือ C++ (CPP101) เพื่อเตรียมตัวสอบปีถัดไป

ม.2

ด้านคณิตศาสตร์ แนะนำว่าในปีนี้ควรจะจบเลขม. 4 และ เริ่มขึ้นเลขม. 5 ให้ได้ โดยเน้นทำโจทย์ที่เป็นแสดงวิธีทำและพิสูจน์มากขึ้นเพื่อฝึกคิดอย่างเป็นระบบ

ด้านผู้ปกครอง ควรแนะนำให้กำลังใจไม่ควรกดดันลูกมากเกินไป และต้องเป็นพี่เลี้ยงดูแลจัดตารางเวลาดีดีอย่าทุมกับอะไรบางอย่างมากเกินไปจนเสียสมดุลของชีวิต

ด้านเขียนโปรแกรม แนะนำเรียน Course Level-Up หรือ ถ้าจบเลขม.ต้นแล้วสามารถเรียน  C (C101) หรือ C++ (CPP101) เพื่อเตรียมตัวสอบปีถัดไป

ในปีนี้สามารถลองไปสอบสอวน.ได้เลย โดยให้ถือว่าเป็นการลองสนามถ้าติดก็ดีไม่ติดก็ไม่เป็นไรครับ

ม.3

ด้านคณิตศาสตร์ แนะนำว่า ควรจบคณิตศาสตร์ ม. 5 ให้ได้ครับและฝึกทำข้อสอบเก่ามากๆครับและควรดูว่าตัวเองยังมีช่องโหว่ตรงไหนตุดไหนยังอ่อนครับ ต้องทำโจทย์เยอะๆครับผมเพราะการทำโจทย์เป็นหัวใจสำคัญเลยทีเดียวครับ

ด้านเขียนโปรแกรม ถ้าจบเลขม.ต้นแล้วสามารถเรียน  C (C101) หรือ C++ (CPP101) เพื่อเตรียมตัวสอบได้เลยครับ

การสอบปีนี้จะเป็นปีที่ถ้าเตรียมตัวตามตารางนี้จะสามารถสอบติดค่าย1 ได้ครับผม แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่ต้องเสียใจเพราะว่าเรายังมีโอกาสอีก 2 ปีครับผม

ม.4

ด้านคณิตศาสตร์ แนะนำว่า ควรจบคณิตศาสตร์ ม. 6 ให้ได้ครับ

ปีนี้ไม่มีอะไรมากครับเพราะคณิตศาสตร์ก็เก็บมาหมดแล้ว คณิตศาสตร์ ม. 6 ไม่ค่อยออกสำหรับ สำหรับรอบแรก และเด็กน่าจะได้เรียนเขียนโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว

  • กรณียังไม่เคยติดค่ายเลย ในกรณีที่ไม่ติดค่ายให้ลองทบทวนตัวเองดูว่าเราอ่อนจุดไหนและไม่เข้าใจจุดไหนให้เน้นจุดนั้นเป็นพิเศษครับโดยเฉพาะคณิตศาสตร์ครับ แต่ไม่ต้องเสียใจครับยังมีเวลาอีก 1 ปีครับ
  • กรณีเคยติดค่าย 1 แล้วแต่ตกค่าย 1 แนะนำเรียน C (C101) หรือ C++ (CPP101) เพื่อเตรียมตัวสอบปีถัดไป
  • กรณีเคยติดค่าย 2 แล้วแต่ไม่ผ่านไปรอบ TOI แนะนำเรียน DATA STRUCTURE AND ALGORITHM ที่ EPT

  • กรณีที่ผ่าน รอบ TOI แล้ว ยินดีด้วยความตอนนี้คุณมาไกลมากแล้ว คุณต้องรู้อะไรดีดีเยอะแล้วครับคำแนะนำในที่นี้อาจจะไม่จำเป็นแล้ว สู้ๆครับ

  • กรณีอื่นๆ ปรึกษาครูเพิ่มเติมได้ที่อาคารของเราเลยครับและกรุณาโทรแจ้งล่วงหน้าก่อนเข้ามา

ปัญหาที่ Expert-Programming-Tutor เจอสำหรับเด็กกลุ่ม สอวน.

ไม่เตรียมตัวตั้งแต่แรก

จะมีผู้ปกครองบางท่านเป็นคนชอบกดดันคนอื่นครับนอกจากกดดันลูกของตัวเองแล้วยังชอบมากดดันครูอีกครับ กลุ่มนี้คือเช่น ลูกสอบติด สอวน. ค่าย 1 ครับกำลังจะเข้าค่ายเดือน ตุลาคม ตอนนี้เดือนกันยาปลายเดือนบางทีก็มากดดันว่าต้องสอนให้จบภายในวันเท่านั้นเท่านี้โดยไม่ได้ดูว่าลูกตัวเองไหวไหม เนื้อหาเขียนโปรแกรมไม่ใช่เนื้อหาจำนวนน้อยๆ อย่างในมหาวิทยาลัยที่เด็กๆเรียนค่าย 1 จะใช้เวลาเรียนถึง  1 ภาคการศึกษาเลยทีเดียว ถ้าลูกของตัวเองได้คณิตศาสตร์แล้วอาจจะวางแผนมาเก็บภาษา C หรือ C++ กับ ทาง Expert-Programming-Tutor ตั้งแต่ก่อนสอบค่าย 1 เลยก็สามารถทำได้ครับ เพราะว่า ตอนที่ประกาศผลผู้ผ่านรอบแรกมีสิทธิ์เข้าค่าย 1 จะประมาณปลายกันยา ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กสอบ Final ที่โรงเรียนจะไม่มีเวลามาเรียนครับ

อ่อนคณิตศาสตร์

การเรียนเขียนโปรแกรมจะไม่สามารถไประดับสูงได้ครับถ้าคณิตศาสตร์ไม่แข็งแรงนะครับถ้าเราอ่อนก็ไม่เป็นไรครับ เราจริงจังกับมันเราฝึกอย่างถูกต้องผมเชื่อว่าสามารถทำได้ทุกคนครับ

ผู้ปกครองกดดันเกินไป

การที่จิตใจเด็กอยู่ในสภาวะจะคิดอะไรไม่ค่อยออกครับและการแข่งขัน สอวน. จำเป็นต้องใช้สมองหลายๆส่วนทั้งส่วนคณิตศาสตร์และความคิดสร้างสรรค์เลยทีเดียว นอกจากนี้ก่อนสอบนร.ควรกินอิ่มนอนหลับครับผม

นอนไม่เพียงพอ

การสอบสอวน.ใช้พลังงานอย่างสูงดังนั้นการพักผ่อนให้เพียงพอก่อนการสอบจะเพิ่มความน่าจะเป็นที่จะทำข้อสอบได้อย่างถูกต้องได้

ประมาทเกินไป

ถึงแม้ว่าข้อสอบแต่ละส่วนจะคะแนนไม่เท่ากัน บางส่วนง่ายบางส่วนยาก เราควรเตรียมตัวไปให้ครบทุกส่วน อย่างทิ้งส่วนใดส่วนหนึ่งบางครั้ง ดังเช่นมีนักเรียนของ Expert-Programming-Tutor ของเราคิดว่าการเขียนโปรแกรมยากมากจึงตั้งใจเรียนและฝึกด้านการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างมาก แต่มาตกม้าตายตรงข้อสอบไล่ Code ที่ง่ายกว่า ซึ่งไม่ได้เตรียมตัวไปเลยจึงหลงลืมและทำได้คะแนนน้อยครับ ซึ่งทำให้พลาดโอกาสไปอย่างน่าเสียดายดังนั้นอย่าประมาทครับผม

ศูนย์สอวน. Computer ของ เราอยู่ศูนย์ไหน

ศูนย์ กรุงเทพมหามหานคร  (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร) รับสมัคร 25 มิ.ย. - 22 ก.ค.

https://bkk.posn.or.th

ศูนย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กทม.  (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดลพบุรี ชัยนาท อุทัยธานี อยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง นนทบุรี ปทุมธานี)

รับสมัคร 9 - 31 ก.ค.  https://www.sci.ku.ac.th/news/8468-2

ศูนย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบฯ สมุทรปราการ) รับสมัคร 11 - 31 ก.ค.

http://www.sc.su.ac.th/sc_new/610705_olympic.pdf

ศูนย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดเขตภาคเหนือตอนบน) รับสมัคร 2 - 18 ก.ค.

http://epg.science.cmu.ac.th/olympics

ศูนย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดเขตภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ กำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ พิษณุโลก พิจิตร  เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์) รับสมัคร 1 - 31 ก.ค.

https://www.sci.nu.ac.th/posn_nu

ศูนย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี มหาสารคาม หนองคาย เลย สกลนคร หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด บึงกาฬ) รับสมัคร 2 - 16 ก.ค.

http://olympiad.kku.ac.th

ศูนย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รับสมัคร 16 - 31 ก.ค.

http://www.olympic.sci.ubu.ac.th/registra/

ศูนย์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ) รับสมัคร 1 - 31 ก.ค.

http://olympic.sut.ac.th

ศูนย์ มหาวิทยาลัยบูรพา (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ตราด สระแก้ว) รับสมัคร 15 มิ.ย. - 15 ก.ค.

http://science.buu.ac.th/posn-buu

ศูนย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร และระนอง) รับสมัคร 20 ก.ค. - 10 ส.ค.

ติดตามการรับสมัครสอบได้ทาง https://entry.wu.ac.th/olympic

ศูนย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดสงขลา ตรัง กระบี่ พังงา ภูเก็ต) รับสมัคร 4 มิ.ย. - 5 ก.ค. 61

http://www.sci.psu.ac.th/OlympicCamp61

ศูนย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ (โรงเรียนที่อยู่ในจังหวัดพัทลุง สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) รับสมัคร 6 - 31 ก.ค. 61

http://www.posn.sci.tsu.ac.th



ไม่อยากอ่าน Tutorial อยากมาเรียนเลยทำอย่างไร?

สมัครเรียน ONLINE ได้ทันทีที่ https://elearn.expert-programming-tutor.com

หรือติดต่อ

085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM

แผนที่ ที่ตั้งของอาคารของเรา

Python

L16 PYTHON SIMPLE ARITHMETIC
L40 PYTHON TUTORIAL INTRO
L41 PYTHON GETTING STARTED
L42 PYTHON SYNTAX
L43 PYTHON COMMENTS
L44 PYTHON VARIABLES
L45 PYTHON DATATYPE
L46 PYTHON NUMBERS
L47 PYTHON CASING
L48 PYTHON STRINGS
L49 PYTHON BOOLEANS
L50 PYTHON OPARETORS
L51 PYTHON LISTS
L52 PYTHON TUPELS
L53 PYTHON SETS
L54 PYTHON DICTIONARY
L55 PYTHON IF ELSE
L56 PYTHON WHILE LOOP
L57 PYTHON FOR LOOP
L58 PYTHON FUNCTION
L59 PYTHON LAMBDA
L60 PYTHON ARRAYS
L61 PYTHON CLASSSES OBJECTS
L62 PYTHON INHERITANCE
L63 PYTHON ITERATORS
L63 PYTHON SCOPE
L64 PYTHON MODULES
L65 PYTHON DATETIME
L66 PYTHON JSON
L67 PYTHON REGEX
L68 PYTHON PIP
L69 PYTHON TRY EXCAPE
L70 PYTHON USER INPUT
L71 PYTHON FILE OPEN
L73 PYTHON STRING FORMATTING
L74 PYTHON READ FILE
L75 PYTHON WRILE CREATE FILE
L76 PYTHON DELETE FILE
L90 PYTHON POISSON DISTRIBUTION
L90 PYTHON RANDOM INTRODUCTION
L91 PYTHON CHI SQUARE DISTRIBUTION
L91 PYTHON EXPONENTIAL DISTRIBUTION
L92 PYTHON RAYLEIGH DISTRIBUTION
L93 PYTHON PARETO DISTRIBUTION
L94 PYTHON ZIPF DISTRIBUTION
L96 PYTHON RANDOM PERMUTATIONS
L97 PYTHON SEABORN
L98 PYTHON NORMAL DISTRIBUTION
L99 PYTHON DISTRIBUTION
L99 PYTHON LOGISTIC DISTRIBUTION
L99 PYTHON MULTINOMIAL DISTRIBUTION
L99 PYTHON NUMPY SPLITTING ARRAY
L99 PYTHON NUMPY UFUNCS
L99 PYTHON UNIFORM DISTRIBUTION
LM60PYTHON BUILT IN FUNCTIONS
LM61PYTHON STRING METHODS
LM62PYTHON LIST ARRAY METHODS
LM63PYTHON DICTIONARY METHODS
LM64PYTHON TUPLE METHODS
LM65PYTHON SET METHODS
LM66PYTHON FILE METHODS
LM67PYTHON KEYWORD
LM68PYTHON BUILT IN EXCAPTION
LM69PYTHON RANDOM MODULE
LM70PYTHON MATH MODULE
LM70PYTHON REQUSTS MODULE
LM72PYTHON CMATH MODULE
LM73PYTHON HOWTO REMOVE DUPLICATES FROM A PYTHON LIST
LM74PYTHON HOW TO REVERSE A STRING IN PYTHON
LM75PYTHON HOW TO ADD TWO NUMBERS IN PYTHON
LM95PYTHON RANDOM DATA DISTRIBUTION


แผนผังการเรียนเขียนโปรแกรม

Link อื่นๆ

Allow sites to save and read cookie data.
Cookies are small pieces of data created by sites you visit. They make your online experience easier by saving browsing information. We use cookies to improve your experience on our website. By browsing this website, you agree to our use of cookies.

Copyright (c) 2013 expert-programming-tutor.com. All rights reserved. | 085-350-7540 | 084-88-00-255 | ntprintf@gmail.com

ติดต่อเราได้ที่

085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM
แผนที่ ที่ตั้งของอาคารของเรา