เรียนเขียนโปรแกรมง่ายๆกับ Expert Programming Tutor วันนี้เราจะมาเข้าสู่บทSets
Set คือชุดเก็บข้อมูล ซึ่งไม่ได้เรียงลำดับและไม่ทำค่าดัชนี ใน เซตไพธอนเขียนด้วยวงเล็บปีกกา{}
การเข้าถึงSet
นักเรียนไม่สามารถเข้าถึงเซตในเซต โดยอ้างอิงถึงดัชนีเนื่องจากเซตไม่มีการเรียงลำดับ เซตจะไม่มีดัชนี
แต่นักเรียนสามารถวงวนผ่านเซต โดยใช้ for loop หรือถามว่ามีค่าที่ระบุอยู่ในเซตโดยใช้ in
ตัวอย่าง
ใช้ for...loop เพื่อทำการอ่านค่าข้อมูลแต่ละตัวจากเซต
thisset = {"apple", "banana", "cherry"} |
ผลลัพธ์
banana |
ตัวอย่าง
ตรวจสอบว่ามี "Banana" อยู่ในเซตหรือไม่
thisset = {"apple", "banana", "cherry"} |
ผลลัพธ์
True |
เปลี่ยน List เมื่อสร้างเซตแล้วนักเรียนจะไม่สามารถเปลี่ยนList ได้ แต่นักเรียนสามารถเพิ่ม List ใหม่ได้
เพิ่มlist
- ในการเพิ่มหนึ่ง List ในเซตให้ใช้วิธีการ add ()
- ในการเพิ่มมากกว่าหนึ่ง List ในเซตให้ใช้เมธอด update ()
ตัวอย่างการใช้ add
บรรทัดที่ 1 กำหนดตัวแปรชนิดเซต เพื่อทำการเก็บข้อมูลชื่อผลไม้ โดยข้อมูลภายใน เป็นข้อมูลประเภทข้อความ(str)
บรรทัดที่ 2 ทำการเพิ่มรายชื่อผลไม้ใหม่เข้าไปในเซตของรายชื่อผลไม้ โดยใช้ฟังก์ชัน add()
บรรทัดที่ 3 โปรแกรมทำการปรินต์ค่า
thisset = {"apple", "banana", "cherry"} |
ผลลัพธ์
{'banana', 'apple', 'cherry', 'orange'} |
ตัวอย่างการใช้ update
บรรทัดที่ 1 กำหนดตัวแปรชนิดเซต เพื่อทำการเก็บข้อมูลชื่อผลไม้ โดยข้อมูลภายใน เป็นข้อมูลประเภทข้อความ(str)
บรรทัดที่ 2 ทำการเพิ่มลิสต์ของรายชื่อผลไม้ใหม่ เข้าไปในเซตของรายชื่อผลไม้ โดยใช้ฟังก์ชัน update
บรรทัดที่ 3 โปรแกรมทำการปรินต์ค่า
thisset = {"apple", "banana", "cherry"} |
ผลลัพธ์
{'apple', 'mango', 'grapes', 'banana', 'cherry', 'orange'} |
การลบข้อมูลออกจากเซต
การลบข้อมูลออกจากเซตโดยใช้ฟังก์ชัน discard()
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 กำหนดตัวแปรชนิดเซต เพื่อทำการเก็บข้อมูลชื่อผลไม้ โดยข้อมูลภายใน เป็นข้อมูลประเภทข้อความ(str)
บรรทัดที่ 2 ทำการลบข้อมูลของรายชื่อผลไม้ที่มีอยู่ในเซต ออกจากเซตของรายชื่อผลไม้ โดยใช้ฟังก์ชัน discard
บรรทัดที่ 3 โปรแกรมทำการปรินต์ค่า
thisset = {"apple", "banana", "cherry"} |
ผลลัพธ์
{'apple', 'cherry'} |
การลบข้อมูลออกจากเซตโดยใช้ฟังก์ชัน pop()
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 กำหนดตัวแปรชนิดเซต เพื่อทำการเก็บข้อมูลชื่อผลไม้ โดยข้อมูลภายใน เป็นข้อมูลประเภทข้อความ(str)
บรรทัดที่ 2 ทำการลบข้อมูลของรายชื่อผลไม้ที่มีอยู่ในเซต ออกจากเซตของรายชื่อผลไม้ โดยใช้ฟังก์ชัน pop
บรรทัดที่ 3-4 โปรแกรมทำการปรินต์ค่า
thisset = {"apple", "banana", "cherry"} |
ผลลัพธ์
cherry |
การลบข้อมูลทั้งหมดออกจากเซตโดยใช้ฟังก์ชัน clear()
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 กำหนดตัวแปรชนิดเซต เพื่อทำการเก็บข้อมูลชื่อผลไม้ โดยข้อมูลภายใน เป็นข้อมูลประเภทข้อความ(str)
บรรทัดที่ 2 ทำการลบข้อมูลทั้งหมดออกจากเซต
บรรทัดที่ 3 โปรแกรมทำการปรินต์ค่า
thisset = {"apple", "banana", "cherry"} |
ผลลัพธ์
set() |
มีหลายวิธีที่นักเรียนสามารถรวมทั้งสองเซตให้อยู่ในเซตด้วยกัน ใน Python นักเรียนสามารถใช้วิธี union () จะทำการส่งคืนเซตใหม่ที่มีList ทั้งหมดจากทั้งสองเซต หรือวิธีการupdate () ที่แทรกlistทั้งหมดจากเซตหนึ่งไปยังอีกเซตหนึ่ง
ตัวอย่าง
บรรทัดที่1-2 กำหนดตัวแปรชนิดเซต(set1 และ set2) โดยแต่ละเซต จะทำการเก็บข้อมูลชื่อตัวเลขและข้อความ
บรรทัดที่ 3 การรวมกันของข้อมูล(union) ระหว่างชุดข้อมูลจาก 2
บรรทัดที่ 4 โปรแกรมทำการปรินต์ค่า
set1 = {"a", "b" , "c"} |
ผลลัพธ์
{1, 'a', 'c', 2, 3, 'b'} |
ก็จบกันไปแล้วกับบท python sets จะสอนในเรื่องของการเข้าถึง Set ในรูปแบบต่างๆ การเพิ่ม list การลบข้อมูลออกจาก List เเล้วพบกันในบทหน้าครับ
Tag ที่น่าสนใจ: python_sets sets_in_python set_operations set_methods looping_through_sets adding_elements_to_sets removing_elements_from_sets discard_method pop_method
หากมีข้อผิดพลาด/ต้องการพูดคุยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ กรุณาแจ้งที่ http://m.me/Expert.Programming.Tutor
085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM