MVC หรือที่ย่อมาจาก Model View Controller เป็นรูปแบบของการเขียนโปรแกรมให้ดูเรียบร้อยโดยใช้หลักการของ OOP คือการแบ่งส่วนของโปรแกรมออกเป็นส่วนย่อยๆจากนั้นจึงนำมาประกอบรวมกันเป็นโปรแกรม 1 โปรแกรม ซึ่ง MVC ก็คล้ายกันแต่เป็นเรื่องของรูปแบบของโปรแกรมนั่นเอง เพื่อให้โปรแกรมนั้นดูง่ายและง่ายต่อการแก้ไขจัดการคือการเขียนโปรแกรมจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ Model View และ Controller ตามชื่อ
1.Model
เป็นอ็อปเจ็คหนึ่งที่ทำหน้าเป็นตัวข้อมูล เวลาที่ข้อมูลใดๆก็ตามที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามาจะเก็บอยู่ในรูปของอ็อปเจ็คที่เรียกว่า โมเดลนี้ ซึ่งอ็อปเจ็คโมเดลจริงๆแล้วก็คือ entity นั่นเอง เช่น Employee, Student, Product เป็นต้น
2. View
คือส่วนที่จะเป็นหน้าตาของโปรแกรมที่ผู้ใช้จะใช้งานจากตรงนี้ ไม่ว่าจะเป็นการกรอกข้อมูลหรือดูผลลัพธ์ วิวจริงๆแล้วก็คือส่วนที่เรียกว่า GUI(Graphic User Interface)
3.Controller
ทำหน้าที่รับข้อมูลและเปลี่ยนข้อมูลส่งต่อให้แก่โมเดลหรือวิว โดยปกติจะเป็นพวกการดำเนินการทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่างการทำ MVC
ขั้นที่ 1 สร้างโปรเจ็คมาหนึ่งโปรเจ็ค จากนั้นสร้างแพ็คเก็จมา3แพ็จเก็จ
รูป6-1
(1) 3 แพ็คเกจ ให้ตั้งชื่อ m v c แต่ c หรือ controller นั้นเป็นส่วนของการดำเนินการทางวิทยาศาสตร์จึงอาจไม่ได้ใช้งานสำหรับโปรแกรมง่ายๆธรรมดา ให้สร้างอีกหนึ่งแพ็คเก็จชื่อ common สำหรับเก็บตัวแปร GlobalData
(2) อย่าลืมเอาตัวเชื่อมต่อฐานข้อมูลใส่มาด้วย(อ่านจากเรื่อง JDBC)
ขั้นที่ 2 ออกแบบและสร้าง Frame ในส่วนแพ็คเก็จ v สำหรับการเป็น GUI ที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน
รูป6-2
ในรูปนี้สร้าง 2 ส่วนคือส่วนสำหรับการเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลออก ในขนาดที่มีช่องทางซ้ายไว้สำหรับแสดงข้อมูล
ขั้นที่ 3 ในส่วนของแพ็คเก็จ common สร้างคลาสชื่อ GlobalData มีหน้าที่เก็บตัวแปรสำหรับการเชื่อมต่อฐานข้อมูล
รูป6-3
ขั้นที่ 4 มาถึงแพ็คเก็จ m ซึ่งมีหน้าที่แปลงข้อมูลมาเป็นอ็อปเจ็คที่เหมือนกับในฐานข้อมูล จึงต้องสร้างตัวแปรที่ชื่อเหมือนกับในฐานข้อมูล
รูป6-4
สร้างคลาสชื่อ UserDB สำหรับสร้างตัวแปรที่เหมือนกับฐานข้อมูลของเรา ย้ำว่าต้องเหมือน!!!
หลังจากนั้นสร้างอีกคลาสชื่อ UserDBManager สำหรับเชื่อมต่อ JDBC และสำหรับการจัดการข้อมูลจำพวก เพิ่ม ลบ เปลี่ยนแปลง
รูป6-5
ในบทที่เกี่ยวกับ JDBC ได้อธิบายเรื่องการต่อกับฐานข้อมูลไปแล้วดังนั้นจะให้ดูเกี่ยวกับการใช้คำสั่ง SQL เพิ่มข้อมูลลงไป
บรรทัดที่ 70 : ใช้คำสั่ง INSERT INTO โดย x มาจากพารามิเตอร์ข้อมูลชนิด UserDB เข้ามา
รูป6-6
Tag ที่น่าสนใจ: mvc model_view_controller oop gui jdbc globaldata entity employee student product frame userdb userdbmanager sql insert_into
หากมีข้อผิดพลาด/ต้องการพูดคุยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ กรุณาแจ้งที่ http://m.me/Expert.Programming.Tutor
085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM
Copyright (c) 2013 expert-programming-tutor.com. All rights reserved. | 085-350-7540 | 084-88-00-255 | ntprintf@gmail.com