สมัครเรียนโทร. 085-350-7540 , 084-88-00-255 , ntprintf@gmail.com

Tutorial JAVA

01 install Eclipse 02 intro to programming Eclipse 03 condition 04.loop 05.array 05 2 array cont 06 01 function 06 02 function cont 07 object 08 string 09 constructor 10 01 oop 10 02 oop2 11 exception 12 reading file 13 thread 14 generic 15 01 GUI 15 02 GUI2 15 03.GUI3 16 using WindowBuilder 17 event 18 database management system 19 ER diagram 20 Relational 21 Xampp 22 JDBC 23 MVC 24 SQL

การเชื่อมฐานข้อมูลกับจาวาด้วย JDBC

            JDBC ย่อมาจาก Java Database Connectivity หรือก็คือตัวเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมจาวากับฐานข้อมูล โดยมีพวกคลาสและอินเทอร์เฟสรวมกันเรียกว่า JDBC API แต่ตัว JDBC API ไม่ได้ติดต่อกับฐานข้อมูลโดยตรงแต่เป็นการทำงานร่วมกันกับ JDBC Driver โดยการติดต่อผ่าน JDBC Driver Manger ซึ่งเป็นตัวสร้างการเชื่อมต่อจริงๆระหว่าง JDBC Driver กับฐานข้อมูล ใช้การ import java.sql.DriverManager

ขั้นตอนการติดตั้ง JDBC มี 7 ขั้นตอน ที่ต้องตรวจสอบและทำให้ครบ

1.      โหลด JDBC Driver

2.      กำหนด URL

3.      สร้างการเชื่อมต่อ

4.      สร้างอ็อปเจ็คของ Statement

5.      ประมวลผล(execute) SQL statement

6.      แสดงผล

7.      ปิดการเชื่อมต่อ

ขั้นที่ 1 : โหลด JDBC Driver

            JDBC Driver อย่างที่เพิ่งพูดไปคือตัวเชื่อมต่อระหว่างโปรแกรมจาวากับฐานข้อมูลดังนั้นจึงจำเป็นต้องโหลดมาให้เรียบร้อยก่อน ซึ่ง Driver ก็มีให้เลือกมากมายซึ่งจะต่างกันออกไปตามชนิดของฐานข้อมูล โดยที่ Library ของ JDBC Driver จะเป็น ไฟล์ .jar

            การเรียก JDBC Driver ทำดังนี้

Class.forname(“ชื่อคลาสที่โหลด JDBC Driver”);

            ต้องครอบด้วย try-catch ด้วยเพื่อดักจับ ClassNotFoundException สิ่งที่ต้องป้องกันคือป้องกันการหา .jar ไม่เจอ เดี๋ยวโปรแกรมรันไม่ได้

            การโหลดLibrary โหลดโดยการพิมพ์คำค้นหาในกูเกิล

ตาราง JDBC Driver

ระบบจัดการฐานข้อมูล

JDBC Driver

Library File(.jar)
MySQL com.mysql.jdbc.Driver mysql-connector-java-nn-bin.jar
Microsoft SQL Server com.micorsoft.sqlsever.jdbc.SQLServerDriver sqljdbc4.jar
Oracle oracle.jdbc.OracleDriver ojdbc6.jar
DB2 com.ibm.db2.jcc.DB2Driver db2jcc.jar
PostgreSQL Org.postgresql.Driver Postgresql-<version>.jdbc3.jar
 

 

การโหลดJDBC ของ MySQL

1.      พิมพ์คำค้นหา mysql ในเว็บ google.com เลือก Downloads

 


รูป5-1

2.      เลือก MySQL Connectors

 


รูป5-2

3.      เลือก Connectors ในที่นี้เลือก connectors/j สำหรับจาวา

 


รูป5-3

4.ดาวน์โหลดและติดตั้งใน

 


รูป5-4

การ import JDBC มาเป็น Library ในเครื่อง

1.เรื่องโปรเจ็คที่ต้องการ import JDBC เข้ามา จากนั้นเลือก Properties

 


รูป5-5

2.เลือก Java Build Path จากนั้นเลือก Add External JARs เลือก JDBC

 

 


รูป5-6

 

ขั้นที่ 2 : กำหนด URL

            กำหนด URL ที่จะใช้เชื่อมต่อ จะต้องกำหนดเป็นตัวแปรชิด String ส่วนวิธีกำหนด URL จะต่างกันไปตาม JDBC Driver ที่ใช้

ระบบจัดการฐานข้อมูล

URL

MySQL jdbc:mysql:// ชื่อหรือIPของserver : port / ชื่อฐานข้อมูล
Microsoft SQL Server jdbc:sqlserver:// ชื่อหรือIPของserver : port / ชื่อฐานข้อมูล
Oracle(OCI) jdbc:oracle:oci@ ชื่อหรือIPของserver : port / ชื่อฐานข้อมูล
Oracle(Thin) jdbc:oracle:thin@ ชื่อหรือIPของserver : port / ชื่อฐานข้อมูล
DB2 jdbc:db2:// ชื่อหรือIPของserver : port / ชื่อฐานข้อมูล
PostgreSQL jdbe.postgresql:// ชื่อหรือIPของserver : port / ชื่อฐานข้อมูลs
 

 

ขั้นที่ 3 : สร้างการเชื่อมต่อ

            สร้างการเชื่อมต่อโดยให้ คลาส DriveManager เรียกเมธ็อด getConnection() โดยการเชื่อมต่อจะต้องครอบด้วย try-catch สำหรับดักจับ SQLException e

การเชื่อมต่อทำได้ดังนี้

            Connection ชื่อตัวแปรอ็อปเจ็ค = DriverManager.getConnection(URL, username, password)

ขั้นที่ 4 : สร้างอ็อปเจ็คของ Statement

อ็อปเจ็ค Statement จะทำหน้าที่ส่ง SQL Statement ไปประมวลผล เชื่อมต่อโดยการเอาตัวแปรที่เก็บ URL มาเรียกเมธ็อด createStatement();

Statement ชื่อตัวแปรอ็อปเจ็ค = ตัวแปรที่เชื่อม URL.createStatement();

ขั้นตอนที่ 5 : ประมวลผล(execute) SQL statement

            การประมวลผลทำโดยนำตัวแปร Statement มาประมวลผล โดยเมธ็อดที่นำประมวลผลบ่อยได้แก่ executeQuery และ executeUpdate

executeQuery

ใช้กับคำสั่ง SELECT statement โดยจะทำการคืนค่าออกมาเป็นตัวที่เลือก

ResultSet ตัวแปรอ็อปเจ็ค = ชื่อตัวแปรอ็อปเจ็คstatement. executeQuery(SQL statement)

executeUpdate

            ใช้กับคำสั่ง INSERT, UPDATE, DELETE statement

            int  ตัวแปรที่จะรับค่าจากเมธ็อด = ชื่อตัวแปรอ็อปเจ็คstatement. executeUpdate(SQL statement)

ขั้นตอนที่ 6 : แสดงผล

            การแสดงผลคือการเอาสิ่งที่ประมวลผลได้มาแสดง การแสดงผลจะใช้คำสั่งลูปโดยใช้ next(); มาช่วยหาว่ายังมีตัวที่ต้องแสดงผลอยู่หรือไม่

ขั้นตอนที่ 7 : ปิดการเชื่อมต่อ

            หลังจากเขียนคำสั่งครบหมดแล้วขั้นตอนต่อไปก็ต้องทำการปิดการเชื่อมต่อ โดยทำการปิดด้วยเมธ็อด close สิ่งที่จะต้องปิดเป้นตามลำดับดังต่อไปนี้ ResultSet Statement Connection

ชื่อตัวแปร ResultSet.close();

ชื่อตัวแปร Statement.close();

ชื่อตัวแปร Connection.close();

อธิบายพร้อมตัวอย่างโค๊ดจริง

            (จะอธิบายเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อนี้เท่านั้น เพราะนี้เป็นโค๊ดจริงอาจมีส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องประกอบอยู่ด้วย)

 


รูป 5-7

บรรทัดที่ 3 : import sql ทั้งหมดด้วยเครื่องหมาย *

บรรทัดที่ 13 : สร้างอ็อปเจ็คของ Connection ด้วยตัวแปรชื่อ con

บรรทัดที่ 14 : สร้างอ็อปเจ็คของ Statement ด้วยตัวแปรชื่อ st

บรรทัดที่ 15 : สร้างอ็อปเจ็คของ ResultSet ด้วยตัวแปรชื่อ rs

ขั้นที่ 2

บรรทัดที่ 17 : สร้างสตริงของ url โดยเอาข้อมูลมาจาก GlobalData(คลาสอื่น)

ขั้นที่ 3

บรรทัดที่ 22 : สร้างการเชื่อมต่อ

ขั้นที่4

บรรทัดที่ 23 : สร้าง Statement

ขั้นที่ 5

บรรทัดที่ 24 : ส่ง Statement ไปประมวลผล

ขั้นที่ 6

บรรทัดที่ 26 : แสดงผลข้อมูล

บรรทัดที่ 36 : ปิด try-catch ด้วย SQLException

ขั้นที่ 7 ปิดการเชื่อมต่อ

 


รูป5-8



บทความนี้อาจจะมีที่ผิด กรุณาตรวจสอบก่อนใช้

หากมีข้อผิดพลาด/ต้องการพูดคุยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ กรุณาแจ้งที่ http://m.me/Expert.Programming.Tutor

ไม่อยากอ่าน Tutorial อยากมาเรียนเลยทำอย่างไร?

สมัครเรียน ONLINE ได้ทันทีที่ https://elearn.expert-programming-tutor.com

หรือติดต่อ

085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM

แผนที่ ที่ตั้งของอาคารของเรา

C Article


C++ Article


Java Article


C#.NET Article


VB.NET Article


Python Article


Golang Article


JavaScript Article


Perl Article


Lua Article


Rust Article


Article


Python


Python Numpy


Python Machine Learning



แผนผังการเรียนเขียนโปรแกรม

Link อื่นๆ

Allow sites to save and read cookie data.
Cookies are small pieces of data created by sites you visit. They make your online experience easier by saving browsing information. We use cookies to improve your experience on our website. By browsing this website, you agree to our use of cookies.

Copyright (c) 2013 expert-programming-tutor.com. All rights reserved. | 085-350-7540 | 084-88-00-255 | ntprintf@gmail.com

ติดต่อเราได้ที่

085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM
แผนที่ ที่ตั้งของอาคารของเรา