สมัครเรียนโทร. 085-350-7540 , 084-88-00-255 , ntprintf@gmail.com


Python Variables

เรียนเขียนโปรแกรมง่ายๆกับ Expert Programming Tutor วันนี้เราจะมาเข้าสู่บท Variable
Creating Variables
ตัวแปรคือคอนเทนเนอร์สำหรับการจัดเก็บค่าข้อมูล และจะไม่เหมือนกับภาษาโปรแกรมอื่น ๆ Python คือไม่มีคำสั่งให้ประกาศตัวแปร นอกจากนี้ตัวแปรจะถูกสร้างขึ้นเมื่อนักเรียนกำหนดค่าให้กับมันเป็นครั้งแรก
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x และกำหนดค่าให้มัน
บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร y และกำหนดค่าให้มัน
บรรทัดที่ 3 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า x ออกมา
บรรทัดที่ 4 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า y ออกมา

x = 5
y = "John"
print(x)
print(y)

ผลลัพธ์

5
John

ตัวแปรไม่จำเป็นต้องถูกประกาศด้วยชนิดเฉพาะใด ๆ และยังสามารถเปลี่ยนชนิดหลังจากที่ตั้งค่าให้มันเเล้ว
ตัวอย่าง

x = 4
x = "Sally"
print(x)

ผลลัพธ์

Sally

ตัวแปรสตริงสามารถประกาศได้โดยใช้เครื่องหมายคำพูดเดี่ยว('')หรือคู่("")
ตัวอย่าง

x = "John"
print(x)
#double quotes are the same as single quotes:
x = 'John'
print(x)

ผลลัพธ์

John
John

การตั้งชื่อตัวแปร
ตัวแปรสามารถมีชื่อแบบสั้น (เช่น x และ y) หรือชื่อที่สื่อความหมายได้มากขึ้น (เช่น age, carname, total_volume)
กฎสำหรับตัวแปร Python
- ชื่อตัวแปรจะต้องเริ่มต้นด้วยตัวอักษรหรือตัวอักษรขีดล่าง
- ชื่อตัวแปรไม่สามารถเริ่มต้นด้วยตัวเลข
- ชื่อตัวแปรสามารถมีได้ทั้งตัวอักษรตัวเลขและขีดล่าง (A-z, 0-9,  _)
- ชื่อตัวแปรเป็นกรณี ๆ ไป (age, Age and AGE are three different variables)
ตัวอย่าง

#Legal variable names:
myvar = "John"
my_var = "John"
_my_var = "John"
myVar = "John"
MYVAR = "John"
myvar2 = "John"

#Illegal variable names:
2myvar = "John"
my-var = "John"
my var = "John"

ผลลัพธ์

 File "demo_variable_names.py", line 10
    2myvar = "John"
         ^
SyntaxError: invalid syntax

***โปรดจำไว้ว่าชื่อตัวแปรคำนึงถึงตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่
Assign Value to Multiple Variables
กำหนดค่าให้กับหลายตัวแปร ใน Python อนุญาตให้กำหนดค่าให้กับตัวแปรหลายตัวในหนึ่งบรรทัด
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x,y,z (“,,,”)เเละกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 2 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า x ออกมา
บรรทัดที่ 3 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า y ออกมา
บรรทัดที่ 4 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า z ออกมา

x, y, z = "Orange", "Banana", "Cherry"
print(x)
print(y)
print(z)

ผลลัพธ์

Orange
Banana
Cherry

และนักเรียนสามารถกำหนดค่าเดียวกันให้กับตัวแปรหลายตัวในหนึ่งบรรทัด
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x,y,z เเละกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 2 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า x ออกมา
บรรทัดที่ 3 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า y ออกมา
บรรทัดที่ 4 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า z ออกมา

x = y = z = "Orange"
print(x)
print(y)
print(z)

ผลลัพธ์

Orange
Orange
Orange

Output Variabels
คำสั่ง Print มักจะใช้ในการ output ตัวแปร ในการรวมข้อความและตัวแปร โดยจะใช้อักขระ +
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x เเละกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 2ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า (“Python is” + x ”) ออกมา

x = "awesome"
print("Python is " + x)

ผลลัพธ์

Python is awesome

นักเรียนยังสามารถใช้อักขระ + เพื่อเพิ่มตัวแปรให้กับตัวแปรอื่น
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x เเละกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร y เเละกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 3 สร้างตัวแปร z เเละกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 4 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า (z) ออกมา

x = "Python is "
y = "awesome"
z =  x + y
print(z)

ผลลัพธ์

Python is awesome

สำหรับตัวเลขอักขระ + ทำงานโดยทางคณิตศาสตร์
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x เเละกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 2 สร้างตัวแปร y เเละกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 3 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่า (x + y) ออกมา

x = 5
y = 10
print(x + y)

ผลลัพธ์

15

หากนักเรียนพยายามรวม str และ number ใน Python จะทำให้ error
ตัวอย่าง

x = 5
y = "John"
print(x + y)

Global Variables
โดยทั่วไปแล้วตัวแปรที่ประกาศภายนอกฟังก์ชันหรือใน global scope จะเรียกตัวแปรนั้นว่าเป็น global variable และขอบเขตที่สามารถจะเรียกใช้ตัวแปรนี้ จะถูกเรียกดูข้อมูลได้ทั้งภายในและภายนอกฟังก์ชัน แต่จะสามารถแก้ไขตัวแปรนี้ได้ใน global scope เท่านั้นไม่สามารถทำการแก้ไขได้ภายในฟังก์ชันได้
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x และกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 3 สร้างคำสั่ง def myfunc():
บรรทัดที่  4 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่าในวงเล็บ(“Python is” + x) ออกมา

x = "awesome"
def myfunc():
  print("Python is " + x)
myfunc()

ผลลัพธ์

Python is awesome

หากนักเรียนสร้างตัวแปรที่มีชื่อเดียวกันภายในฟังก์ชั่นตัวแปรนี้จะเป็นแบบLocal และสามารถใช้ได้ภายในฟังก์ชันเท่านั้น global variable ที่มีชื่อเดียวกันจะยังคงเหมือนเดิมเเละเป็นค่าเดิม
ตัวอย่าง

x = "awesome"
def myfunc():
  x = "fantastic"
  print("Python is " + x)
myfunc()
print("Python is " + x)

ผลลัพธ์

Python is fantastic
Python is awesome

The global Keyword
เราใช้คีย์เวิร์ด global เพื่ออนุญาติให้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรที่อยู่ด้านนอกข้อมูลใน scope ปัจจุบัน จะถูกใช้สำหรับสร้าง global variables และเปลี่ยนค่าตัวแปรใน local context  
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างคำสั่ง def myfunc():
บรรทัดที่ 2 ใช้ฟังก์ชัน global และใส่ตัวแปร x
บรรทัดที่ 3 สร้างตัวแปร x และกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 4 คำสั่ง myfunc()
บรรทัดที่ 5 ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่าในวงเล็บ(“Python is” + x) ออกมา

def myfunc():
  global x
  x = "fantastic"
myfunc()
print("Python is " + x)

ผลลัพธ์

Python is fantastic

นอกจากนี้ให้ใช้ global Keyword หากนักเรียนต้องการเปลี่ยน global variables ภายในฟังก์ชัน
ตัวอย่าง
บรรทัดที่ 1 สร้างตัวแปร x และกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 2 สร้างคำสั่ง def myfunc():
บรรทัดที่ 3  ใช้ฟังก์ชัน global และใส่ตัวแปร x
บรรทัดที่ 4 สร้างตัวแปร x และกำหนดค่าตัวแปร
บรรทัดที่ 5 คำสั่ง myfunc()
บรรทัดที่ 6  ใช้ฟังก์ชัน print เพื่อเเสดงค่าในวงเล็บ(“Python is” + x) ออกมา

x = "awesome"
def myfunc():
  global x
  x = "fantastic"
myfunc()
print("Python is " + x)

ผลลัพธ์

Python is fantastic

เนื้อหาในบทนี้จะอธิบายถึงการสร้าง variable การตั้งชื่อ variable การใช้ variable  โดยเราสามารถใช้คีย์เวิร์ด global เพื่ออนุญาตให้สามารถทำการเปลี่ยนแปลงอยู่ด้านนอกข้อมูลใน scope หรือ ต้องการเปลี่ยน global variable ในฟังก์ชัน เป็นอย่างไรกันบ้าง พอจะเข้าใจเพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่าลืมหาหนังสือมาอ่านเพื่อศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องของ Variable กันนะครับ
แปลจากhttps://www.w3schools.com/python/python_variables.asp


Tag ที่น่าสนใจ: java c# vb.net python c c++ machine_learning web database oop cloud aws ios android


บทความนี้อาจจะมีที่ผิด กรุณาตรวจสอบก่อนใช้

หากมีข้อผิดพลาด/ต้องการพูดคุยเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ กรุณาแจ้งที่ http://m.me/Expert.Programming.Tutor

ไม่อยากอ่าน Tutorial อยากมาเรียนเลยทำอย่างไร?

สมัครเรียน ONLINE ได้ทันทีที่ https://elearn.expert-programming-tutor.com

หรือติดต่อ

085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM

แผนที่ ที่ตั้งของอาคารของเรา

แผนผังการเรียนเขียนโปรแกรม

Link อื่นๆ

Allow sites to save and read cookie data.
Cookies are small pieces of data created by sites you visit. They make your online experience easier by saving browsing information. We use cookies to improve your experience on our website. By browsing this website, you agree to our use of cookies.

Copyright (c) 2013 expert-programming-tutor.com. All rights reserved. | 085-350-7540 | 084-88-00-255 | ntprintf@gmail.com

ติดต่อเราได้ที่

085-350-7540 (DTAC)
084-88-00-255 (AIS)
026-111-618
หรือทาง EMAIL: NTPRINTF@GMAIL.COM
แผนที่ ที่ตั้งของอาคารของเรา