Philosophy

หลักปรัชญา

เราเชื่อว่า การสร้างคนที่มีคุณภาพหนึ่งคนมีความสำคัญเทียบเท่าการสร้างโบสถ์ขนาดใหญ่

create-kids
ในยุคที่สิ่งต่าง ๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์ส่วนใหญ่ต่างต้องเข้าสู่โลกยุคใหม่ที่มีความซับซ้อนอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ แน่นอนว่าเด็ก ๆ ก็เช่นเดียวกัน เมื่อเด็ก ๆ ต้องเตรียมตัวเข้าสู่โลกยุคสมัยใหม่นี้ สิ่งที่ปรากฏขึ้นมาให้เห็นอย่างเด่นชัดคือ ระบบการศึกษาแบบเดิมอาจไม่เพียงพอที่จะเตรียมพวกเขาให้พร้อมสำหรับความท้าทายหลายประการที่รออยู่ข้างหน้า และแม้ว่าทักษะด้าน Coding จะได้รับการยกย่องว่าเป็นทักษะที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 แต่แท้จริงแล้ว ทักษะนี้เป็นเพียงหนึ่งในเส้นด้ายที่จะต้องนำไปถักทอร่วมกับเส้นด้ายเส้นอื่น ๆ ให้เป็นชุดแห่งทักษะที่เด็ก ๆ ทุกคนต้องสวมใส่ เพื่อให้พวกเขาก้าวเดินฝ่าคลื่นของความเจริญในโลกสมัยใหม่ไปได้อย่างมั่นคงเท่านั้น
ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีหลายอย่างได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับมนุษย์เพิ่มขึ้นในแทบทุกแง่มุมของชีวิต ทั้งด้านความบันเทิง ด้านการทำงาน ด้านสุขภาพ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และหุ่นยนต์ ที่กำลังเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์ไปอย่างมาก ทว่าสิ่งที่เด็ก ๆ ได้เรียนในโรงเรียนอาจไม่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต เมื่อพวกเขาโตเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาอาจต้องประกอบอาชีพที่แปลกใหม่ หรืออาจต้องใช้ทักษะที่ไม่เคยมีการสอนมาก่อน ดังนั้นเด็ก ๆ จะต้องอาศัยทักษะในการปรับตัว ความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกับทั้งมนุษย์และหุ่นยนต์
EPT CAMP เป็นค่ายที่เน้นฝึกทักษะชีวิต และทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในยุค AI และยุคเทคโนโลยีที่กำลังจะมาถึง ซึ่งทักษะที่เราจะเน้นก็คือ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
21st Century Skills

21st-century-skills
  1. Creativity - ทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นเรื่องที่แน่ชัดแล้วว่าในอนาคตอันใกล้นี้ทักษะที่สำคัญมากในยุค AI คือเรื่องของความคิดสร้างสรรค์ เพราะงานพื้น ๆ และงานที่ทำซ้ำ ๆ จะถูกแทนที่โดยหุ่นยนต์และ AI แทบทั้งสิ้น ในทางกลับกัน งานที่ต้องอาศัยความเป็นมนุษย์ ความเข้าใจคนอื่น และความคิดที่แปลกใหม่จะสำคัญอย่างมาก
  2. Critical Thinking - ทักษะการคิดเชิงวิเคราะห์ซึ่งต้องใช้ข้อมูลและมุมมองที่หลากหลายมารวมกัน จริงอยู่ที่ AI สามารถคิดวิเคราะห์ได้ แต่ AI จะคิดได้จากข้อมูลที่มนุษย์เตรียมไว้ให้เท่านั้น ในฐานะที่เป็นมนุษย์ เราต้องคิดวิเคราะห์ให้ได้รอบด้านกว่าคอมพิวเตอร์ และต้องอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเชิงวิทยาศาสตร์ด้วย ซึ่งต้องมาจากการสังเกต และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  3. Communication - ทักษะการสื่อสารความคิดออกไปให้คนรับรู้ สื่อสารอย่างไรให้คนเชื่อ สื่อสารอย่างไรให้ถูกต้อง ตรงประเด็น และน่าสนใจ
  4. Cooperation - ทักษะการทำงานร่วมกับคนอื่น ในยุคใหม่ เราจะต้องทำงานร่วมกับคนทั้งโลก เด็กยุคใหม่จะสามารถย้ายไปอยู่ที่ไหนของโลกก็ได้ พวกเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของพลเมืองโลก เพราะเส้นแบ่งประเทศแบบเดิมเป็นแค่เส้นทางการเมืองไม่ใช่เส้นแบ่งชีวิตของคนยุคใหม่ เราจึงต้องสามารถทำงานเป็นทีมได้ ต้องรู้จัก
    • Competition - การแข่งขันอย่างสร้างสรรค์
    • Compromise - การประนีประนอม
    • Collaboration - การร่วมมือกัน
    เหล่านี้เป็นทักษะที่ต้องฝึกทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังรวมถึงทักษะการเป็นผู้นำและทักษะการเป็นผู้บริหารอีกด้วย
  5. ความอดทน - ในยุคใหม่ โลกจะซับซ้อนมาก การดำเนินชีวิตจะไม่เหมือนในยุคใด ๆ ที่ผ่านมาที่มนุษย์เคยเจอ เช่น สมัยปีค.ศ. 1920-1950 แค่อ่านหนังสือออกก็สามารถทำงานในตำแหน่งที่ดีไปตลอดชีวิตได้ แต่ในยุคปัจจุบัน เด็ก ๆ ต้องมีความรู้และทักษะมากกว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้วอีกเป็น 10 เท่า เพื่อที่จะเป็นเช่นนั้นได้ เด็ก ๆ ต้องมีความอดทนในการทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จ อดทนต่อความยากลำบาก และอดทนต่ออุปสรรค
  6. ความสามารถในการเยียวยาตัวเอง - ในยุคต่อไป เราต้องเจอเรื่องราวมากมายในแต่ละวัน เวลาในยุคใหม่จะเดินเร็วกว่าเดิม ทำให้ในหนึ่งวันมีเรื่องให้จัดการเยอะขึ้น มนุษย์ต้องทำงานที่ซับซ้อนหลากหลายขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าบางส่วนจะล้มเหลว ทว่าการล้มเหลวก็เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง เด็ก ๆ จึงควรเรียนรู้ที่จะล้มเหลว เรียนรู้ที่จะร้องไห้ และเรียนรู้ที่จะลุกขึ้นมาทำใหม่โดยไม่ย่อท้อ
  7. Mindfulness - การทำจิตให้นิ่ง การฝึกจิตใจให้มีความสามารถทำงานได้
  8. Problem Solving - การแก้ปัญหาแบบมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ การมองโลกจริง ๆ แบบที่มันเป็นโดยไม่ปรุงแต่ง การสังเกต การจับรูปแบบ การแตกปัญหาใหญ่ออกเป็นปัญหาย่อย การคิดเชิงนามธรรม การแทนปัญหาเป็นวัตถุเชิงนามธรรม
ทักษะต่าง ๆ ที่กล่าวมานี้เป็นสิ่งที่นักคิดด้านการศึกษาเห็นตรงกันว่าสำคัญต่อการทำงาน การเรียน และการใช้ชีวิตในยุคต่อไป แต่เมื่อมองย้อนกลับมาดูการศึกษาแบบดั้งเดิม ก็ทำให้ผู้ใหญ่ต้องมาขบคิดกันว่า เราส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงวิพากษ์ และการคิดเชิงวิเคราะห์ให้กับเด็ก ๆ เพียงพอไหม ดังนั้นค่ายของเราจึงออกแบบกิจกรรมให้ส่งเสริมทักษะเหล่านี้หมุนเวียนกันไป ทั้งนี้ทักษะข้อ 5, 6, 7, 8 เป็นกิจกรรมที่ใช้สมองส่วนหน้า (Prefrontal Cortex) ซึ่งจำเป็นสำหรับการเรียนรู้เรื่องอื่น ๆ ต่อไป

องค์ประกอบของการศึกษาที่ดี

learning-by-explorer
การศึกษาที่ดีต้องประกอบด้วย
  1. Exploration - การสำรวจ ทำการทดลองวิทยาศาสตร์ การสังเกตสิ่งแวดล้อม การพาเด็กไปดูระบบนิเวศในสถานที่จริง ยกตัวอย่างเช่น การเรียนวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องต้องเริ่มจากการสังเกต การทำลอง การทำซ้ำ ๆ โดยค่อย ๆ เปลี่ยนตัวแปรบางอย่างไป
  2. Structural Learning - การสรุปสิ่งที่ได้สังเกตมา โดยสรุปเป็นกฎหรือองค์ความรู้ในรูปแบบเชิงโครงสร้างสั้น ๆ จดจำง่าย และนำไปใช้ต่อได้ง่าย ยกตัวอย่างเช่น หากว่าเรียนวิทยาศาตร์ก็คือการเรียนรู้กฎต่าง ๆ เช่น กฎของนิวตัน กฎทรงมวล กฎสัดส่วนคงที่ เป็นต้น
  3. Exercise - การลงมือทำจริง การประยุกต์ใช้กฎหรือสิ่งที่สรุปได้จากข้อ 2 ไปสู่ปัญหาใหม่ ๆ เป็นการฝึกทำเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย เคยชิน และการมองในมุมมองใหม่ ๆ
  4. Input/Output - มีการรับข้อมูลจากแหล่งอื่น การพูดคุยกับเพื่อนเพื่อสื่อสารความคิด และเพื่อรับฟังความคิดใหม่ ๆ ข้อนี้จะทำให้ปิดจุดอ่อนของตัวเอง นอกจากนี้การถกเถียงปัญหากันยังนำไปสู่ไอเดียใหม่ ๆ อีกด้วย
  5. Review - ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
การศึกษาของเด็กตอนนี้ เรามักจะเน้นที่ Structural ในข้อ 2 หรือการเรียนแบบสรุป ๆ เรียนกฎต่าง ๆ เรียนเนื้อหาแบบรวบรัดสั้น ๆ เรียนหลักการ เรียนสิ่งที่มีคนสรุปมาให้แล้ว เพื่อให้เด็กไปเรียนเรื่องอื่น ๆ ต่อ และยังเน้นการทำแบบฝึกหัดในข้อ 3 เด็กต้องทำแบบฝึกหัดจำนวนมาก ทำตามวิธีที่น่าเบื่อและบางครั้งก็ไม่เข้าใจในกระบวนการ เพราะว่าเราเรียนกันเพื่อไปสอบ โดยหลงลืมความงามที่ซ่อนอยู่ในวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ด้านต่าง ๆ ทำให้เด็ก ๆ ขาดความคิดเชิงกระบวนการของมัน ขาดกิจกรรมการสำรวจในข้อ 1 ขาดการพูดคุยในข้อ 4 และบางคนอาจจะไม่มีการทบทวนในข้อ 5 ด้วย เนื่องจากเวลาเรียนในโรงเรียนมีจำกัด พวกเขาจึงต้องเรียนอย่างรีบเร่ง ทำให้ขาดไปหลายส่วน
ความตั้งใจของทีมงาน EPT หลังจากที่ทำการค้นคว้าด้านการสอน ประกอบกับประสบการณ์ที่ได้จากการสอนมาหลายปี ทำให้เราพบว่า เมื่อส่วนประกอบการเรียนรู้ไม่ครบ 5 ส่วน เราจะได้นักเรียนที่เรียนแบบแห้ง ๆ ไม่เข้าใจอย่างแท้จริง ไม่เข้าใจความสำคัญ ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่เรียนมามีประโยชน์ต่อชีวิตและมนุษย์ได้อย่างไร และไม่เห็นถึงความจริงที่ว่า ความรู้ต่าง ๆ ไม่ได้เรียนไปเพื่อใช้สอบอย่างเดียว ทางทีมงาน EPT จึงจัดค่ายกิจกรรมขึ้น เพื่อเสริมการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ให้ครบทั้ง 5 ส่วน โดยเน้นไปที่การเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ก่อน เพราะเรามีความเชี่ยวชาญด้านนี้ นอกจากนี้เรายังสอดแทรกศิลปะเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ผ่อนคลายและฝึกใช้การสังเกตให้ครอบคลุมรอบด้าน
เราเชื่อว่าสิ่งที่สำคัญไม่แพ้ Information ก็คือ Inspiration และ Process เราอยากให้เด็ก ๆ ได้มีประสบการณ์ที่เขาจะจำไปตลอดชีวิตถึงวิทยาศาสตร์แบบที่ควรจะเป็น เป็นการเปิดโอกาศให้เด็ก ๆ ได้เห็น ได้สัมผัสกับธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ และได้มองผ่านมุมของวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็จะไปสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่นได้ด้วย

เรียนรู้ตามวัย ไม่ข้ามขั้น

learning-step-by-step
ในแต่ละช่วงวัยของเด็กจะมีระดับความสามารถที่แตกต่างกัน จริงอยู่ที่เด็กบางคนมีความสามารถมากกว่าคนอื่น แต่โดยหลักการทั่วไปคือ เด็กวัย 12-15 ปี สามารถเริ่มเรียนสิ่งที่เป็นนามธรรมได้มากขึ้นแล้ว และเด็กยังมีการพัฒนาการทางสังคมมากขึ้นกว่าช่วงวัย 8-12 ปี ดังนั้นการจัดการศึกษาในวัยนี้ควรจะเน้น
  • การจัดกิจกรรมกลุ่ม - เพื่อส่งเสริมทักษะข้อ 3, 4, 5
  • การเรียนแบบไม่แข่งขัน - ทุกคนทำได้ ทุกคนมีชัยชนะของตัวเอง เพื่อเสริมความมั่นใจของเด็ก
  • เปิดโอกาสให้คิด - ไม่มีตัดสินถูกหรือผิด ทุกความคิดมีความหมาย เน้นให้กล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่ ส่งเสริมทักษะข้อ 1, 2, 8
  • การเรียนของเราในค่ายจะไม่เน้นหลักการหรือทฤษฏีมากเกินไป แต่จะเน้นให้เด็ก ๆ ได้เกิด Inspiration
ตามหลักการจิตวิทยาการเรียนรู้ ถ้าหากว่าเด็กมีปัญหาเหล่านี้
  • ไม่มีสมาธิ ไม่ตั้งใจเรียน
  • ไม่รับผิดชอบ
  • ติดเกม ติดมือถือ
  • เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาไม่รู้ตัวเอง ไม่สามารถทำอะไรให้สำเร็จได้
อาจจะเป็นเพราะเขาไม่ได้เต็มอิ่มในช่วงชั้นพัฒนาการของตัวเอง กิจกรรมของเราจะช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง มีการเข้ากลุ่มสังคมกับเพื่อน มีการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออก

หลักการจัดการเรียนของ EPT CAMP

เรียนทักษะที่จำเป็นแบบวิทยาศาสตร์ เน้นการเรียนรู้ตามวัย ไม่ข้ามขั้น